วันจันทร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ว่าด้วยเรื่องจารีตนครบาล ..



หลังจากหายกันไปหลายวัน ท่องอินเตอร์เน็ตไปๆมาๆ ก็มาสะดุดกับเรื่องนี้เข้า เป็นเครื่องทรมานของไทยเรา .. ถ้าถามว่าทำไมถึงเขียนบล็อคเรื่องนี้ ก็เพราะจารีตนครบาลของเรา จึงทำให้อังกฤษ ได้ข้ออ้างในการทำสนธิสัญญาเบาริ่ง คนอังกฤษที่ทำผิด ไม่ต้องขึ้นศาลไืทย

เพราะอะไร ?

เพราะการลงโทษมันค่อนข้างที่จะโหด...

ไปดูกันเลย ดีกว่า



เครื่องมือทรมานเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "เครื่อง จารีตนครบาล"จารีตนครบาล"

จารีตนครบาลได้ถูกยกเลิกอย่างเด็ดขาด ในปี พ.ศ.2451 (ร.ศ.127) โดยประกาศประมวลกฎหมาย ลักษณะอาญายกเลิกการไต่สวนโดยจารีตนครบาล
ปรากฎหลักฐานตามกฎหมายตราสามดวง สันนิษฐานว่ามีการใช้กันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น คำว่า "
คือวิธีการไต่สวนจำเลยหรือผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดอาญาแผ่นดินให้รับสารภาพด้วยวิธีการทรมานร่างกายให้เกิดความทุกข์ ทรมานเจ็บปวด เช่น ตอกเล็บ บีบเล็บ บีบขมับ ขึ้นขาหยั่ง เป็นต้น



1. ไม้บีบเล็บ
ลักษณะเป็นไม้เนื้อแข็ง 2 อัน ปลาย 2 ข้างเป็นปุ่ม และ เรียวลงไปตอนกลางโป่ง ยึดปลายข้างหนึ่งไว้ด้วยเชือกให้แน่น เมื่อเอาบีบลงตรงเล็บผู้ที่ถูกสอบสวนแล้ว ก็เอาเชือกรัดขัน ปลาย อีกข้างหนึ่ง ให้แน่นแล้วใช้ค้อนไม้เนื้อแข็งทุบลงไป ตรงกลางที่วางเล็บไว้ ตามหลักฐานใช้สำหรับทรมานผู้ร้าย เวลาไต่สวนเพื่อให้รับสารภาพ ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่า เริ่ม ใช้สมัยกรุงศรีอยุธยาโดยกฎหมาย "พระอัยการ ขบถศึก" จุล ศักราช 796 (พ.ศ. 1978) เลิกใช้สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ (รัชกาล ที่ 5) โดยประมวลกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127 (พ.ศ. 2451)

2. ไม้บีบขมับ

เป็นเครื่องมือทรมานทำด้วยไม้เนื้อแข็ง มี 2 อัน ปลายข้างหนึ่งใช้ เชือกผูกไว้ส่วนปลายอีกด้านหนึ่งมีเชือกขันตรงกลางมีปุ่ม 2 ปุ่ม สำหรับ ใส่ตรงขมับทั้ง 2 ข้าง ละขันเชือกอีกปลายด้านหนึ่งให้แน่น กดขมับให้เจ็บปวดจนกว่าจะให้ถ้อยคำเป็นที่เชื่อถือได้ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่า เริ่ม ใช้สมัยกรุงศรีอยุธยาโดยกฎหมาย "พระอัยการขบถศึก" จุลศักราช 796 (พ.ศ. 1978) เลิกใช้สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ (รัชกาลที่ 5) โดยประมวลกฎ หมายลักษณะอาญา ร.ศ.127 (พ.ศ.2451)

3. ฆ้อนตอกเล็บ

ทำด้วยไม้แก่นปลายไม้ข้างหนึ่งแหลมใช้สำหรับใส่เข้า ไประหว่างเล็บและเนื้อแล้วใช้ฆ้อนตอกไม้ปลายแหลมเข้าไป ในเล็บปรากฏหลักฐานแน่ชัด ว่าเริ่มใช้สมัยกรุงศรีอยุธยา โดย กฎหมาย "พระอัยการขบถศึก" จุลศักราช 796 (พ.ศ. 1978) เลิก ใช้สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ (รัชกาลที่5) โดยประมวลกฎหมาย ลักษณะอาญา ร.ศ.127 (พ.ศ. 2451)

4. หีบทรมาน

ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง มีลักษณะคล้ายหีบศพขนาดพอดีกับตัวคน ที่ฝาปิด
มีรูเจาะไว้ 2 รู เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณครึ่งนิ้ว สำหรับให้พอหายใจได ท่านั้น เมื่อเอาผู้ร้ายเข้าไปนอนในหีบ ปิดฝาแล้วจะพลิกหรือตะแคงตัว ไม่ได้อาจวางนอน หรือวางยืนไว้กลางแดดก็ได้ ร้อนจนอึดอัดแทบขาดใจ ตาย เป็นการทรมานเพื่อให้รับสารภาพ ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าเริ่มใช้ สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยกฎหมาย "พระอัยการขบถศึก" จุลศึกราช 796 (พ.ศ.1978) เลิกใช้ สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ (รัชกาลที่ 5) โดยประมวลกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127 (พ.ศ. 2451

5. ไม้ขาหย่าง

เป็นเครื่องมือลงทัณฑ์ ซึ่งมักใช้เป็นโทษประจานให้ได้อาย มีลักษณะเป็นไม้
กลม 3 ท่อน ยาวท่อนละประมาณ 1.60 เมตร ปลายมีเหล็กแหลมหุ้มสำหรับเสียบ
ลงในดินให้แน่น ปลายอีกข้างหนึ่งใช้เชือกมัดรวมแล้วมัดผู้กระทำผิดไว้บนไม้สาม
ขา หรืออาจแขวนห้อยไว้ไม่ให้เท้าหยั่งพื้นถึง มีเจ้าหน้าที่ตีฆ้องร้องป่าว มิให้คนอื่น
เอาเยี่ยงอย่าง

6. เบ็ดเหล็ก

ใช้เพื่อลงทัณฑ์ผู้ต้องโทษโดยเกี่ยวเบ็ดเหล็กเข้าใต้คาง ปลายแหลม
ของเบ็ดเหล็กเสียบทะลุคางถึงใต้ลิ้นแล้วชักรอกดึงรั้งคางของผู้ต้องโทษ ให้ตัวลอยขึ้นจนปลายเท้าลอยพ้นจากพื้นดิน โดยไม่ให้คางหลุดจากเบ็ด เหล็ก เบ็ดเหล็กนี้ทำด้วยเหล็กท่อนขนาด 4 หุน ปลายแหลมเหมือน เบ็ดตกปลา ยาวประมาณ 16 นิ้ว เริ่มใช้ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ตรงกับสมัยแผ่นดินของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 จุลศักราช 796 (พ.ศ. 1978) ซึ่งปรากฎใน กฎหมายพระอัยการขบถศึกและเลิกใช้ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ร.ศ. 127 (พ.ศ. 2451) เมื่อประกาศใช้ประมวลกฎหมายลักษณะอาญา

7. ตะกร้อลงโทษ (ตะกร้อช้างเตะ)

เป็นเครื่องมือลงทัณฑ์ มีลักษณะทรงกลมทำด้วยหวาย
เส้นสานกันห่างๆ หวายที่สานมีด้วยกันแผงละ 13 เส้น เส้นผ่า
ศูนย์กลางประมาณ 80 เซนติเมตร มีช่องขัดเสียบเหล็กแหลม
ลงไปช่องละ 6-9 ตัว วิธีการลงทัณฑ์จับคนโทษ ยัดใส่ตะกร้อ
แล้วใช้ช้างเตะให้เลียดกลิ้งไปกับพื้นเหล็กแหลมจะทิ่มแทง
ตามร่างกายให้ได้รับความเจ็บปวด ตะกร้อที่จัดแสดงไว้ที่
พิพิธภัณฑ์ ตามหลักฐานได้มาจากคุกเมืองโคราชหรือเรือนจำ
กลางนครราชสีมาปัจจุบัน

8. หวาย

เป็นเครื่องมือทรมานในการไต่สวนคนร้ายที่ถูกกล่าวหาให้รับสัตย์
(รับผิด) เริ่มใช้สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์และเลิกใช้สมัยรัชกาลที่ 5
เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน ร.ศ. 115 (พ.ศ. 2439) หวายที่ใช้ลงโทษผู้ต้อง
ขัง มี 3 ลักษณะ

8.1 หวายแช่น้ำแสบ (น้ำเกลือ)

ทำด้วยหวายขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เซนติเมตร ยาวประมาณ 1.10 เมตร ที่ด้านมือจับควั่นด้วยเปลือก
หวายเส้น วิธีการทรมาน จับคนร้ายมัดหันหน้าติดพื้นหรือนอนคว่ำหน้ากับพื้นราชทัณฑ์จะใช้หวายแช่น้ำแสบ (น้ำเกลือ) ที่เตรียมเอาไว้ หวดเฆี่ยนบนหลังคนร้ายตามกำหนดการเฆี่ยนใช้ นับเป็นยก "ยกหนึ่ง" หมายถึง
30 ขวับ จนกว่าคนร้ายจะรับสัตย์ (รับผิด)


8.2 หวายกระชากหนังกำพร้า

ทำด้วยหวาย 3 เส้นมัดรวมกัน แต่ละเส้นวันเส้นผ่าศูนย์กลางได้ประมาณ 1 เซนติเมตร ยาวประมาณ
1.25 เมตร ครึ่งปลายของหวายหุ้มด้วยเปลือกหวายขัด เพราะเปลือกหวายขัดนี่เอง เวลาหวดลงหวายไปแต่ละ ทีหนังกำพร้าจะหลุดติดออกมาเป็นริ้วๆ การนับก็เป็น "ยก" เช่นเดียวกับ หวายแช่น้ำแสบ


8.3 หวายสามแนว

ทำด้วยหวาย 3 เส้น แต่ละเส้นวัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ประมาณ 1 เซนติเมตรยาวประมาณ 1.25 เมตร
โดยเอาหวาย 3 เส้นมัดรวมกัน แค่ครึ่งหนึ่งของตัวหวายไว้เป็นที่จับ อีกครึ่งหนึ่งของส่วนปลายปล่อยเปลือย การเฆี่ยนตีหรือโบยด้วยหวายสามแนวเหมือนกับหวายแช่น้ำแสบ และหวายกระชากหนังกำพร้า


credit : http://my.dek-d.com/zerostom/story/viewlongc.php?id=156701&chapter=54






update by : กชกร สันติคุณากร 5131601001

วันเสาร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ประชาสถาปนา

ประชาสถาปนา



ยี่สิบสี่มิถุนา
สองสี่เจ็ดห้าสมัย
สถาปนาประชาธิปไตย
ยังไม่ไปถึงไหนเลย

ปล้ำผีลุกปลุกผีนั่ง
ผีสตางค์มันเข้าเกย
ซื้อประชาไปผ่าเผย
แล้วนั่งแท่นขึ้นครองเมือง

ตัวตายก็ตัวแทน
เป็นส่ำแสนเข้าหนุนเนือง
ใช้รัฐธรรมนูญเปลือง
เป็นเครื่องมือพวกสามานย์

กลับผิดให้เป็นถูก
แล้วเปลี่ยนถูกเป็นผิดพลาญ
ประโยชน์ชาติก็แหลกลาญ
ให้ต่างชาติเข้าชุบมือ

ชูมือชุบมือเปิป
กำเริบสัมปทานถือ
โลกร้อนเป็นไฟฮือ
ไม่เท่าร้อนประชาชน

อัปเปหิ มันออกไป
พวกหน้าด้านและหน้าทน
จัดตั้งกำลังคน
กำจัดมารที่ครองเมือง!

เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
พฤ ๑๙/๖/๕๑

credit information & photo : www.manager.co.th
update by : กชกร สันติคุณากร 5131601001