วันอาทิตย์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ศาลรับอีกคดี “อาชญากรแม้ว” แปลงสัมปทานมือถือโกงภาษี






ศาลฎีกานักการเมือง รับฟ้อง “ทักษิณ” แปลงสัมปทานมือถือเอื้อชินฯ นัดเปิดคดีนัดแรก 15 ต.ค.พร้อมสั่งส่งหมายให้จำเลย ขณะที่อัยการรอดู “ทักษิณ” แต่งทนายสู้หรือไม่ ขณะที่คดีที่ดินรัชดาฯ พิพากษา 17 ก.ย.นี้ วันนี้ (1 ก.ย.) เวลา 10.00 น.ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สนามหลวง นายพรเพชร วิชิตชลชัย ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ในฐานะผู้พิพากษาเจ้าของสำนวน พร้อมองค์คณะผู้พิพากษารวม 9 คน ออกนั่งบัลลังก์อ่านคำสั่งคดีหมายเลขดำที่ อม.9/2551 ที่อัยการสูงสุด เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นจำเลย ในความผิดฐาน เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่รับสัมปทาน หรือเข้าเป็นคู่สัญญาในลักษณะดังกล่าว, เป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่จัดการหรือดูแลกิจการใดเข้าไปมีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อประโยชน์สำหรับตัวเอง หรือผู้อื่น, เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91, 152, 157 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 4, 100, 122 กรณีทุจริตออกกฎหมายแก้ไขค่าสัมปทานโทรศัพท์มือถือ-ดาวเทียม เป็นภาษีสรรพสามิต เอื้อประโยชน์ธุรกิจบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ทำให้รัฐเสียหาย 6.6 หมื่นล้านบาท โดยองค์คณะผู้พิพากษาพิจารณาคดีแล้ว มีคำสั่งประทับรับคำฟ้องไว้พิจารณาพิพากษา ซึ่งกำหนดนัดพิจารณาคดีครั้งแรก ในวันที่ 15 ตุลาคมนี้ เวลา 10.00 น. และให้โจทก์ส่งสำเนาคำฟ้องและหมายเรียกให้จำเลยตามภูมิลำเนาภายใน 3 วัน นายเศกสรรค์ บางสมบุญ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีพิเศษ เปิดเผยว่า ต้องรอดูว่าในวันที่ 15 ต.ค.นี้ พ.ต.ท.ทักษิณ จะแต่งตั้งทนายมาสู้คดีหรือไม่ ถ้าไม่แต่งตั้ง ก็เป็นดุลยพินิจของศาลต่อไป ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับคดียึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จำนวน 7.6 หมื่นล้านบาทให้ตกเป็นของแผ่นดินกรณีร่ำรวยผิดปกตินั้น ในวันที่ 2 กันยายนนี้ เวลา 09.30 น.นายวิรัช ลิ้มวิชัย ประธานศาลฎีกา จะเรียกประชุมใหญ่ผู้พิพากษาศาลฎีกาทั้งหมดเพื่อเลือกองค์คณะผู้พิพากษาจำนวน 9 คนขึ้นพิจารณาคดีนี้ด้วย สำหรับปัจจุบัน พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน พักอยู่ที่อังกฤษ หลังจากเมื่อวันที่ 11 ส.ค.ที่ผ่านมา ศาลฎีกาฯ ได้ออกหมายจับบุคคลทั้งสอง เนื่องจากทั้งสองไม่มารายงานตัวต่อศาลฯในคดีจัดซื้อที่ดินย่านถนนรัชดาภิเษก ตามนัดหมายในวันดังกล่าวต่อมาสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ได้ออกประกาศสืบจับบุคคลทั้งสอง เมื่อวันที่ 14 ส.ค.ที่ผ่านมา ก่อนหน้านี้ ศาลฯ อนุญาตให้ พ.ต.ท.ทักษิณและคุณหญิงพจมาน เดินทางไปต่างประเทศในระหว่างที่ได้รับการประกันตัวเป็นการชั่วคราว แต่เมื่อครบกำหนด บุคคลทั้งสองไม่ได้เดินทางกลับไทยโดย พ.ต.ท.ทักษิณ ได้เขียนคำชี้แจงด้วยลายมือระบุ เหตุผลที่ไม่กลับมารายงานตัว เพราะเห็นว่าเขาและครอบครัวถูกกล่าวหา และถูกดำเนินคดีอย่างไม่เป็นธรรม สำหรับคดีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ถูกฟ้องเป็นตำเลยต่อศาลฎีกา ถือว่ามีหลายคดีแล้ว โดยคดีทุจริตซื้อที่ดินย่านรัชดาฯ ศาลสืบพยานเสร็จสิ้นแล้ว และนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 17 กันยายน นี้ เวลา 10.00 น.
โพสโดย: นางสาว ศิริกานต์ ทองเครือมา ID:5131601184

Samak as Prime Minister of Thailand ... win in Debate but still bad in ppl. mind


credit picture from :
http://www.manager.co.th/IndoChina/ViewNews.aspx?NewsID=9510000103109






วิกฤติการณ์บ้านเมืองในขณะนี้ ยังพอมีทางออก


ทางออกที่ไม่ต้องเสียเลือดเสียเนื้อ หรือเกิดความเสียหาย ทำร้าย-ทำลายประเทศชาติมากไปกว่านี้

ส่วน หนึ่ง ขึ้นอยู่กับว่า นายสมัคร สุนทรเวช จะทำตัวให้สมกับเป็น “นายกรัฐมนตรี” หรือตัดสินใจเพื่อประเทศชาติส่วนรวมอย่างแท้จริง หรือไม่ ?

1. ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พึงสำเหนียกว่า เขามิใช่เพียงตัวเขาเองอีกต่อไป

หมายความว่า ตนเองได้เสียสละผลประโยชน์ส่วนตัว เสียสละสิทธิส่วนตัวบางประการ เพื่อเข้ามาทำหน้าที่รักษาสิทธิและผลประโยชน์ของประเทศชาติส่วนรวม


สำคัญที่สุด คือ จะต้องรักษาผลประโยชน์ของประเทศส่วนรวม ยิ่งกว่าอำนาจ ตำแหน่ง และผลประโยชน์ส่วนตัว

หาก ผู้เป็นนายกรัฐมนตรีตระหนักถึงความรับผิดชอบเช่นนี้ ก็จะไม่ยึดติดในตัวเอง ไม่พยายามเอาชนะคะคานผู้อื่น ไม่เอาสถานะความเป็นนายกรัฐมนตรีมาใช้เป็นเครื่องมือพิสูจน์ตัวเอง หรือเอาอนาคตของประเทศชาติมาเป็นเดิมพันส่วนตัว

การ ตัดสินใจใดๆ ในฐานะนายกรัฐมนตรี จะต้องทำเพื่อรักษาผลประโยชน์ส่วนรวม แม้ว่าการตัดสินใจนั้น อาจจะทำให้ตนเองต้องสูญเสียผลประโยชน์บางอย่าง หรือแม้แต่จะทำให้ตนเองรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมก็ตาม

“นายกรัฐมนตรี” จำเป็นต้องคิดเช่นนี้ ถ้าใครไม่สามารถยึดถือหลักคิดเช่นนี้ ก็ไม่สมควรเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี

2. ที่ผ่านมา ประชาชนจำนวนมาก ไม่ใช่เพียงพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเท่านั้น ที่เห็นว่า นายสมัคร สุนทรเวช บริราชการแผ่นดินผิดพลาดร้ายแรง ใช้อำนาจโดยไม่ถูกต้องชอบธรรมหลายเรื่อง ตัดสินใจดำเนินการเพื่อรับใช้ผลประโยชน์ของคนเฉพาะกลุ่มเฉพาะบุคคลมากกว่า ประโยชน์ของส่วนรวมอย่างแท้จริง


หากนายสมัครจะมีวุฒิภาวะและมีความจริงใจกับการเป็นนายกฯ ย่อมจะสามารถตั้งสติ คิดทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในระหว่างการใช้อำนาจในฐานะนายกฯ ของตนเอง จะเห็นว่า ข้อวิพากษ์วิจารณ์ของประชาชนนั้น มีน้ำหนัก มีเหตุมีผลเพียงพอ เช่น

กรณี มีมติ ครม. ออกออกแถลงการณ์เรื่องปราสาทพระวิหารโดยขัดต่อรัฐธรรมนูญ, กรณีการแต่งตั้งบุคคลที่มีชนักติดหลังเข้ามาเป็นรัฐมนตรี, กรณีมีมติ ครม.ให้รัฐมนตรีที่ตกเป็นจำเลยในคดีอาญาในศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรง ตำแหน่งทางการเมืองดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีและปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ซึ่งอาจขัดต่อกฎหมาย, กรณีมติ ครม. แต่งตั้งบุคคลที่มีคุณสมบัติไม่เหมาะสม มีคดีติดตัว และเป็นบริวารของระบอบทักษิณ เข้าไปยึดกุมอำนาจกำกับดูแลระบบและสถาบันการเงินของประเทศ, กรณีแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการโดยปราศจาดธรรมาภิบาล, กรณีการบริหารราชการผิดพลาดบกพร่อง ดังที่มีการชำแหละในระหว่างการอภิปรายไม่ไว้วางใจ เป็นต้น

คน เป็นนายกรัฐมนตรี ควรจะต้องคิดและตัดสินใจเพื่อให้ประเทศชาติเดินต่อไปได้อย่างสงบสุข บางเรื่อง แม้ตนเองเห็นว่าไม่ใช่ความผิดของตน แต่ด้วยความเป็นนายกรัฐมนตรี ก็จะต้องตัดสินใจด้วยความรับผิดชอบ ไม่ใช่มัวแต่จะโต้เถียง โต้วาทีเพื่อเอาชนะ มัวแต่อ้างว่าตนเองไม่ผิด ไม่ลาออก คล้ายกับคิดว่าถ้าโต้วาทีชนะก็จะบรรลุความสำเร็จสุดยอด โดยไม่แสดงความรับผิดชอบ เอาตัวเองเป็นหลัก แทนที่จะเอาบ้านเมืองเป็นหลัก เพื่อให้บ้านเมืองเดินต่อไปได้

http://www.hitechcj.com/sitebuildercontent/sitebuilderpictures/jpg_law_justice_003.jpg

มิพัก ต้องเอ่ยถึงปัญหาของนายสมัครและพรรคพลังประชาชนโดยตรง ซึ่งตนเองก็รู้ดีว่า มีความเสี่ยงในคดีหลายคดี เช่น คดียุบพรรคพลังประชาชน, คดีหมิ่นประมาทที่ศาลอุทธรณ์กำลังจะมีคำพิพากษา 25 ก.ย.นี้ หลังจากที่ศาลอาญาตัดสินจำคุกนายสมัคร 2 ปี โดยไม่รอลงอาญา, คดีทุจริตรถดับเพลิง คดีทุจริตโครงการขยะ ที่ ป.ป.ช.กำลังไต่สวนอยู่ รวมไปถึงคดีชิมไปบ่นไปที่ศาลรัฐธรรมนูญใกล้จะมีคำวินิจฉัยชี้ขาด กรณีที่นายสมัครไปรับหน้าที่พิธีกรรายการโทรทัศน์ของเอกชน ช่วยให้มีการแสวงหาผลประโยชน์ทางธุรกิจ เป็นการกระทำขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ เป็นต้น

ควรหรือ... ที่คนเป็นนายกรัฐมนตรี จะเอาปัญหาส่วนตัว หรือเอาความเสี่ยงส่วนตัว เข้ามาเป็นตัวถ่วง หรือเป็นความเสี่ยงของประเทศชาติส่วนรวมด้วย ?

คนที่มีจิตสำนึกของความเป็นนายกรัฐมนตรี จะต้องไม่พยายามปกป้องตนเองด้วยการทำลายประเทศชาติ แต่จะต้องตัดสินใจเพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติส่วนรวมเป็นหลัก แม้ว่าตนเองอาจจะต้องสูญเสียประโยชน์ส่วนตนบางประการก็ตาม


3. เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา นายสมัครพูดจาเปลือยตัวตนผ่านรายการสนทนาประสาสมัคร บอกกับคนทั้งประเทศว่า ตนเองเป็นนักโต้วาที และสั่งสอนสังคมไทยว่า “ความกลัวทำให้เสื่อม” โดยอ้างอิงถึงกรณีที่เจ้าหน้าที่ไม่ลงมือปราบปรามประชาชนผู้ประท้วงรัฐบาลอย่างเด็ดขาดว่า เป็นเรื่อง “ความกลัวทำให้เสื่อม”

พูดง่ายๆ ว่า นายสมัครตราหน้าว่า เจ้าหน้าที่ “กลัว” ไม่กล้าปราบปรามประชาชน จึงทำให้เกิดความเสื่อม ความเสียหายในบ้านเมือง

วิธี คิดเช่นนี้ มิจฉาทิฐิอย่างนี้ หากนำมาใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน บริหารประเทศ โดยเฉพาะในยามวิกฤติขณะนี้ จะเป็นความเสี่ยงภัยอย่างใหญ่หลวงของแผ่นดิน และจะนำพาบ้านเมืองเดินลงไปสู่หุบเหวของหายนะอย่างถาวร

น่าสงสัยว่า ที่ผ่านมา นายสมัครอาจจะใช้วิธีคิดเช่นนี้

เป็นวิธีคิดของนักโต้วาที มากกว่าวิธีคิดของคนเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศ

เป็นวิธีคิดของคนที่ต้องการเอาชนะ มองเห็นคนที่คิดต่างเป็นฝ่ายตรงข้ามที่ต้องฟาดฟันให้ราบคาบ และใช้อำนาจที่ตนมีไปในการต่อสู้เพื่อชัยชนะของฝ่ายตนเอง มากกว่าจะรับฟังทุกฝ้าย เพื่อสานเสวนา ถักทอความเข้าใจ และแสวงหาทางเลือกที่เป็นประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติส่วนรวม


เนื่องจากวิสัยของนักโต้วาทีนั้น มีลักษณะสำคัญ คือ

จะด้วยวิธีคิดของคนเป็นนายกรัฐมนตรีแบบนี้หรือไม่ จึงนำมาสู่การใช้อำนาจ และการมีพฤติกรรมที่เป็นภัยซ้ำเติมวิกฤติของแผ่นดินหลายประการ เช่น

(1) การพยายามใช้กลไกของรัฐเป็นเครื่องมือ
เช่น ข้าราชการ หน่วยงานของรัฐต่างๆ เล่นงานฝ่ายที่คิดต่างจากตน โจมตีผู้อื่น ปกป้องตนเอง เพื่อหวังจะเอาชนะอย่างเดียว ไม่ว่าจะเป็น การ ใช้สถานีโทรทัศน์และวิทยุของรัฐใส่ร้ายป้ายสีประชาชน การใช้ตำรวจเป็นเครื่องมือเล่นงานผู้ชุมนุม การใช้ข้าราชการไปฟ้องร้องขับไล่ผู้ชุมนุม การใช้ตำแหน่งลาภยศเป็นสินบนให้ข้าราชการยอมตนสวามิภักดิ์ ร่วมเล่นงานฝ่ายตรงข้ามของตน การอิงแอบใช้อำนาจของกองทัพ เป็นต้น

(2) การพยายามอิงแอบใช้ หรือแผลงใช้อำนาจของศาล เป็นเครื่องมือทางการเมือง

ถึงกับอ้างว่า “ศาลให้ดาบมาถือไว้” ลองพิจารณากรณีให้เจ้าหน้าที่ไปฟ้องศาลแพ่ง เพื่อให้พันธมิตรฯ ยุติการชุมนุม และออกไปจากทำเนียบรัฐบาล

“เปลว สีเงิน”
วิเคราะห์ในคอลัมน์ “คนปลายซอย” หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ 29 ส.ค. 51 ว่า

“...กับสถานการณ์ขณะนี้ เป็นปัญหาบ้านเมือง-เรื่องการเมือง เหตุมาจากตัวนายสมัคร-พรรคทักษิณแท้ๆ แต่มันกลับไม่กล้าเผชิญเพื่อแก้ปัญหาตามหน้าที่ก่อน

หนีไปซุกทหาร แล้วแบกปัญหาเป็น "เผือกร้อน" ไปพึ่งบารมีศาลให้ท่านแก้ให้ ส่วนตัวเองก็ลอยหน้า-ลอยตา เป็นว่าต่อจากนี้ "รัฐบาลไม่เกี่ยว" แล้ว.. ..การยึด "ทำเนียบรัฐบาล" เป็นสถานที่ชุมนุมของ "พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย" พ้นหน้าที่ และพ้นความรับผิดชอบของรัฐบาลไปแล้ว! ดูสันดานมันทำ!

นายสมัคร ใช้ความชำนาญเล่ห์การเมือง ผลักปัญหา-ภาระทั้งหมดนั้นให้ไปอยู่ในเขตอำนาจของศาล จากร้องฉุกเฉินไปจนถึงขั้นตอน "แต่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี" ทำให้เกิดภาพเป็นว่า ขณะนี้ "ศาลแพ่ง" คล้ายต้องทำหน้าที่บริหารบ้านเมืองแทนรัฐบาล โดย "เจ้าพนักงานบังคับคดี" อันเป็นหน่วยงานของศาล ต้องลงมาแบกรับปัญหา และต้องเผชิญหน้ากับผู้ชุมนุม "มวลชนพันธมิตรฯ" แทนรัฐบาล ศาลจึงคล้ายเป็น "คู่กรณี" กับพันธมิตรฯ ไปโดยปริยาย!?

…นี่..ไม่เพียงเปลื้องภาระที่ตัวเองแก้ไม่ได้ให้ "พ้นตัว" ไปเท่านั้น นายสมัครยังใช้สันดานนักการเมืองเก๋าเกม "ฉวยโอกาสในวิกฤติ" ด้วยการเสกให้งาช้างงอกในปาก อวดสังคมว่า "สั่งไม่ให้ใช้กำลังสลายการชุมนุม อยากจะชุมนุมก็ให้ชุมนุมกันไป" ก็ใช่น่ะซี..ใช้ศาลทำหน้าที่ "สลายการชุมนุม" แทนไปแล้วนี่!”


Justice System main Image


พึงตระหนัก... ท่านผู้พิพากษาอาวุโส (อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา) “ยินดี วัชรพงศ์ ต่อสุวรรณ” ถึงกับหนังสือถึงประธานศาลฎีกา และคณะกรรมการตุลาการ พร้อมทำสำเนาถึงอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา และอธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่ง มีเนื้อความสำคัญว่า

“..การยกปัญหาข้อขัดแย้งกันในทางการเมือง โดยวิธีการแผลงเรื่องเกี่ยวกับปัญหาการเมืองให้เป็นปัญหาระหว่างเอกชนกับ เอกชน หรือการแผลงเรื่องการดำเนินการทางการเมืองให้มาเป็นคดีอาญาในข้อหาร้ายแรง เป็นกบฏเพื่อหวังผลเอาอำนาจศาลยุติธรรมไปใช้ให้มีผลที่จะนำมาซึ่งชัยชนะกัน ในทางการเมือง หรือเพื่อระงับมิให้มีการแสดงออกหรือการกระทำในทางการเมืองของประชาชนนั้น จะเป็นเรื่องที่นำมาซึ่งความเสื่อมเสียและความเชื่อมั่นของสถาบันศาล ยุติธรรมอย่างยิ่ง เพราะในประเทศสากลทุกประเทศทั่วโลกนั้นจะรู้ว่าเขตอำนาจศาลยุติธรรมของทุก ประเทศจะไม่มีเขตอำนาจศาลที่จะไประงับหรือยุติปัญหาทางการเมืองที่มีการ แสดงออกโดยประชาชนได้แต่อย่างใดเลย…

การแผลงเรื่องของการเมืองให้มาเป็นปัญหาระหว่างเอกชนกับเอกชน กับการแผลงเรื่องการดำเนินการทางการเมืองให้มาเป็นคดีอาญาในข้อหาร้ายแรงว่า เป็นเรื่องความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักรหรือเป็นกบฏนั้นจึง ต้องเป็นเรื่องที่ศาลจะต้องตรวจสอบถึง “ความชอบด้วยกฎหมายของเขตอำนาจศาลยุติธรรม” ให้ชัดเจนก่อนด้วยว่า การนำคดีมาสู่ศาลยุติธรรมนั้น ศาลยุติธรรมจะมีเขตอำนาจศาลที่จะพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในปัญหาดังกล่าว ได้หรือไม่ โดยจะต้องทำการไต่สวนถึงต้นเหตุและปลายเหตุที่แท้จริงเสียก่อนว่า ศาลมีเขตอำนาจตามกฎหมายที่จะดำเนินการให้ได้หรือไม่ โดยเป็นปัญหาระหว่างเอกชนกับเอกชน หรือเป็นปัญหาทางการเมือง เพราะศาลยุติธรรมไม่มีเขตอำนาจศาลที่จะพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งใดๆ อันเกี่ยวกับปัญหาขัดแย้งในทางความคิดเห็นหรือการแสดงออกใดๆ ในทางการเมืองใดๆ เพราะปัญหาดังกล่าวต้องแก้ด้วยเหตุผลกันในทางการเมืองเท่านั้น และศาลยุติธรรมไม่อยู่ในฐานะที่จะเป็นเครื่องมือในทางการเมืองได้เลย”


ดัง นั้น เมื่อปรากฏว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจได้อาศัยคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวของศาลแพ่ง ไปแอบอ้างทำการทุบตีประชาชน ไล่รื้อทรัพย์สินของผู้ชุมนุม จึงไม่น่าแปลกใจที่ศาลแพ่งจะต้องออกมาอธิบายคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวดังกล่าว ว่าฝ่ายบริหารทำเกินเลย ตีความเกินคำสั่ง ไปสลายการชุมนุมและไล่รื้อเวทีที่สะพานมัฆวาน และมีคำสั่งให้งดการบังคับคดีกับผู้ชุมนุมในทำเนียบรัฐบาลไว้ก่อน จนกว่าศาลอุทธรณ์จะมีคำสั่งหรือคำพิพากษา

(3) การอ้างแอบ อิงอาศัยสถาบันพระมหากษัตริย์


นายสมัคร อ้างว่า “ขอพึ่งพระบารมี” เพื่อจัดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ทางการเมืองแก่ตนเอง จะเข้าข่ายว่า เป็นการนำ “สถาบันเบื้องสูง” มาใช้แก้ปัญหาที่ตัวเอง หรือไม่ ?

รวมถึงการอ้างว่า “เจ้านาย” ให้อยู่ต่อก็ดี หรือการเร่งดำเนินการไล่โรงเรียนและชุมชนเกียกกายออกไป เพื่อสร้างรัฐสภาแห่งใหม่ โดยอ้างว่า “จะต้องรีบรื้อถอนบางส่วนออกไปให้ทันก่อนวันที่ 5 ธันวา และจะกราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ มาทรงวางศิลาฤกษ์” ก็ดี เป็นการบังควร หรือไม่

ทั้งหมดนี้ เป็นแรงขับดันจากความอยากเอาชนะ การเอาตัวรอดของนายกรัฐมนตรี เพื่อให้ได้คำตอบอย่างที่ตนเองต้องการ เพื่อตอบสนองความต้องการของตนเอง ใช่หรือไม่ ?

และด้วยเหตุนี้ จึงไม่มีใครอยากพูดต่อ หรือแสดงความเห็นลงมา เมื่อนายสมัครรายงาน เพราะเกรงจะถูกนำไปอ้าง

ทางออกของบ้านเมืองในขณะนี้ มี 2 ทาง คือ

1. นายสมัคร ต้องยอมเสียสละตัวเอง ไม่ต้องรอให้ศาลพิพากษา หรือรอให้ใครปลดออก หรือเขี่ยออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ไม่ต้องอ้างว่าตนเองไม่ผิด เพราะผิดหรือไม่ผิดจะต้องรอคำพิพากษาของศาล แต่ขณะนี้ บ้านเมืองกำลังลุกไหม้ คนเป็นนายกรัฐมนตรีจึงต้องแสดงวุฒิภาวะ “ความเป็นนายกรัฐมนตรี” โดยการลาออก ปลดชนวนปัญหา เพื่อให้บ้านเมืองเดินต่อไปได้

2. นายสมัคร ยึดมั่นถือมั่นในตัวเองต่อไป บ้านเมืองจะหายนะอย่างไรก็ช่าง แต่ขอให้ตนเองสามารถเอาตัวรอด โดยไม่ได้รับผลกระทบ อาศัยตำแหน่งนายกรัฐมนตรีทำการใช้อำนาจและกลไกของรัฐ “รบกับฝ่ายตรงข้าม” และโต้วาทีต่อไป เหมือนคนที่มีปัญหาทางจิต ที่สะใจและพอใจที่ได้เปิดสภาเพื่อโต้วาที ในขณะที่ไฟโหมลุกไหม้บ้านเมือง

ซึ่งถึงวันหนึ่ง นายสมัครก็จะต้องถูกทำให้ออกไป “อย่างเจ็บปวดและน่าอัปยศอดสูที่สุด”

ขอ ให้พึงตระหนักว่า ไม่ใช่ความกลัวหรอกที่ทำให้เสื่อม แต่ความไม่หยั่งรู้ ไม่รับรู้ว่าอะไรเป็นความชั่ว หรือความไม่ละอายต่อความชั่วและเกรงกลัวต่อบาปต่างหาก ที่ทำให้เสื่อมทั้งตน เสื่อมทั้งชาติ

พึงสังวรณ์ว่า... นายสมัครคงจะมีชีวิตบนผืนแผ่นดินนี้ อีก ไม่ถึง 3,000 วัน ถึงวันนั้น นายสมัครต้องการจะให้ประวัติศาสตร์จดจำตนเองไว้ในฐานะอะไร และต้องการให้ลูกหลานมีชีวิตอยู่ในสังคมต่อไปในฐานะอะไร ?

จะ เป็นอดีตนายกรัฐมนตรีคนหนึ่ง หรือจะเป็นคนดื้อที่เห็นแก่ตัว ถึงกับยอมทำลายประเทศชาติ เพื่อเอาชนะ และในที่สุดก็ต้องมอดม้วยไปด้วยกัน !

ประเมินตนเองใหม่เถอะครับ ครั้งนี้ถึงยังเป็นนายกฯ อยู่ได้ ก็ปกครองใครไม่ได้





credit this text from : www.manager.co.th
by : Dr.Jermsak Pinthong
update by : Kotchakorn Sunthikhunakorn 513 1601 001





Canon - Harp & Flute - Pachelbel

ประมวลภาพความรุนแรง






















Update By : Patcharin Udomwong 5131601138

“อู๊ดด้า” ถลกกางเกงโชว์ “หมัก” ตะเพิดลาออกกลางสภา




นายกฯ กระเหี้ยนกระหือรือ เปิดสภาร่วมท้าให้ฝ่ายค้าน-ส.ว.ซักไซร้ ยกโวหารจะได้รู้ใครใส่กางเกงในสีอะไร “มาร์ค” ย้อนอดีตกระบวนการนิติบัญญัติไม่เคยแก้วิกฤตสถานการณ์การเมืองได้เลย ด้าน “จุรินทร์” สับแหลก ไล่นายกฯ ลาออกกลางสภา ยุติบ้านเมืองลุกเป็นไฟ

วันนี้ (31 ส.ค.) นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี อภิปรายในการประชุมร่วมกันรัฐสภาครั้งที่ 1 สมัยสามัญนิติบัญญัติ ในฐานะผู้เสนอเปิดการประชุมโดยไม่ลงมติว่า ขอกล่าวเพียงสั้นๆ ว่าให้สมาชิกได้ใช้เวทีนี้ซักไซร้กันให้เต็มที่ จะได้รู้กันเสียทีว่าใครนุ่งกางเกงในสีอะไร ไม่ต้องปิดบังกันต่อไป พูดกันให้หมด ต่อมา นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า ในอดีตที่ผ่านมาเมื่อประสบปัญหาวิกฤตการณ์ทางการเมือง อย่างเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ กระบวนการนิติบัญญัติ ไม่สามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้งได้เลย ดังนั้นจึงขอฝากเตือนเพื่อนสมาชิกว่าอย่าคาดหวังในการประชุมในครั้งนี้ให้มากกว่า ประกอบกับการเมืองในสมัยนี้ได้พัฒนาไปไกลแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการเมืองภาคประชาชน แม้ว่า ส.ส.ต้องรับเสียงสะท้อนของประชาชน แต่เมื่อมีความแตกแยกอย่างรุนแรงและมีท่าทีจะลุกลามบานปลาย ส.ส.หรือตัวแทนของประชาชนจะนั่งเป็นกระจกสะท้อนปัญหาอย่างเดียวไม่ได้ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ส.ส.ระบบสัดส่วนพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า สถานการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นถือเป็นการเมืองภาคประชาชนสมบูรณ์ที่ขัดแย้งกับฝ่ายบริหาร โดยเฉพาะตัวนายสมัคร สุนทรเวช และถือเป็นครั้งแรกที่มีชุมนุมเป็นเรือนแสนทั่วประเทศ และยืดเยื้อยาวนานกว่า 3เดือนต้องไม่ลืมว่าตัวจุดชนวนให้กลุ่มพันธมิตรฯ ขยายวงชุมนุมเติบโตขึ้น คือ ความพยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อพวกพ้อง นายกฯ ได้ใช้สื่อของรัฐปีละ 500 ล้านบาท จัดรายการ “ความจริงข้างเดียว” (ความจริงวันนี้) ทางช่องเอ็นบีที เพื่อใช้ตอบโต้ฝ่ายตรงข้าม รัฐบาลมุ่งล้างแค้นองค์กรอิสระ เช่น กกต. เพราะแจกใบแดงรองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน หรือ ป.ป.ช.และศาล รธน. อีกทั้งยังได้ตั้งข้อกล่าวหาแกนนำพันธมิตรรุนแรงเกินกว่าความเป็นจริง พฤติการณ์เหล่านี้คือเงื่อนไขที่ประชาชนไม่พอใจและเข้าร่วมชุมนุมกับกลุ่มพันธมิตรฯ มากขึ้น เพราะพฤติกรรมก้าวร้าวระรานองค์กรต่างๆ พร้อมทั้งเรียกร้องให้นายกฯ พิจารณาตัวเองด้วยการลาออกก่อนที่บ้านเมืองจะลุกเป็นไฟ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อนายจุรินทร์อภิปรายถึงตรงนี้ ทำให้บรรดา ส.ส.พรรคพลังประชาชนได้ยกมือลุกขึ้นประท้วง ทำให้บรรยากาศวุ่นวายเล็กน้อยและส่อไปในทิศทางไม่มีทางสมานฉันท์หรือยุติสถานการณ์ได้เลย หลังจากนั้น นายสมัคร ลุกขึ้นกล่าวตอบโต้นายจุรินทร์ทันทีว่า เป็นการกล่าวหาที่เกินกว่าเหตุ ไม่คาดคิดว่าจะได้ยิน เพราะนี่ไม่ใช่การโต้วาทีที่จะมากล่าวหากัน เหตุการณ์มันเกิดทีหลังการปลุกระดม จะว่าอะไรกัน จะกล่าวหาอะไรกันขอให้ดูข้อมูลหน่อย ใครๆ ก็รู้ว่ามันเกินเหตุ มันผิดปกติ จึงต้องมีการแก้ไข มันต้องดูข้อมูลย้อนหลัง แต่นี่ทำเหมือนว่านายกรัฐมนตรีทำผิด “ผมถูกกล่าวหา ผู้ชี้แจงให้ผมพิจารณาตัวเอง กล่าวหาว่าผมทำให้เกิดความเสียหายกับบ้านเมือง ทั้งๆที่ผมไม่ได้ทำอะไร ไม่เคยลุกล้ำทั้งๆที่ผมถูกลุกล้ำ ไม่เคยใช้ความรุนแรง รัฐบาลผมไม่มี แต่มีรัฐบาลเมื่อ 2543 พม่าเข้ายึดโรงพยาบาล และส่งกำลังเข้าไปจนทำให้มีผู้เสียชีวิตต่างกับผมที่พยายามประคับประคอง แต่มากล่าวหากันว่าไอ้คนที่ชื่อนายสมัคร ว่าเป็นก่อเหตุตลอดระยะเวลา 7 เดือน นี่ไม่ใช่การอภิปรายไม่ไว้วางใจ มาให้ผมพิจารณาตัวเอง ลองย้อนดูว่ามันมีข้อเท็จจริงอย่างไร ฟังแล้วอ๋อ ท่านอยู่ข้างพันธมิตรฯ”นายสมัครกล่าว ส่วนประเด็นแก๊สน้ำตานั้น นายกฯ กล่าวพร้อมโชว์ภาพถ่าย ว่า ก็กำลังสรุปกันอยู่ว่ามันเป็นอะไร ถ้าดูจากรูปถ่ายมันไม่ใช่แก๊สน้ำตา ทั้งนี้ การจะพูดจากล่าวหากัน หรือจะให้พิจารณาตนเอง ก็ขอพิจารณาตัวเองว่าขอทีให้ย้อนดูว่าสิ่งที่พูดมันเท็จจริงอะไร ฟังได้ว่าอยู่ข้างพันธมิตรฯ




โพสต์โดย : นางสาวมณีกาญจน์ คงชาฤทธิ์
ID : 5131601156

การ์ตูนล้อเลียนการเมือง






















โพสโดย : นางสาว ศิริกานต์ ทองเครือมา ID :5131601184




















“หมัก” อ้างน้ำตาตกใน ประชดคำสั่งศาล พูดชัดตัวการสั่ง ตร.สลาย พธม.

นายกฯ กระฟัดกระเฟียด ใช้สื่อรัฐลับฝีปากก่อนแจงกลางที่ประชุมรัฐสภาบ่ายนี้ เหน็บพวก ส.ส.-ส.ว.ฝักใฝ่พันธมิตรฯ ยืดอกท้าสื่อ “ความกลัวทำให้เสื่อม” ฟาดปากเสียดสีพันธมิตรฯ แค่คนหยิบมือยึดสนามบินหวังล้มรัฐบาล ประชดคำสั่งศาลยึดดาบคืน น้ำตาตกใน หลุดปากสั่งตำรวจเข้าสลายเอง อ้างเฉย ตร.มีแต่มือเปล่าๆ ปฏิเสธยิงแก๊สน้ำตา โยนมือที่ 3 คลิกที่นี่ เพื่อฟังรายการ "สนทนาประสาสมัคร" วันนี้ (31 ส.ค.) นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “สนทนาประสาสมัคร” ถึงสถานการณ์ทางการเมืองที่กำลังตึงเครียดในขณะนี้ว่าต้องขอบคุณนายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย ที่สนอว่าให้เปิดประชุมรัฐสภาเป็นการด่วน เพื่อให้มีการอภิปรายอย่างกว้างขวางในเวลา 13.30 น.วันนี้ โดยจะไม่มีการลงมติ ซึ่งถือเป็นเรื่องดีที่จะได้ชี้แจงให้ประชาชนรับทราบว่า ส.ส.-ส.ว.ยืนข้างใคร เพราะหลังจากเหตุการณ์เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้กำลังสลายกลุ่มผู้พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ปรากฏว่ามีฝ่ายนิติบัญญัติบางกลุ่มได้เดินทางไปเยี่ยมผู้ได้รับบาดเจ็บและให้กำลังใจผู้ชุมนุมถึงเวทีทำเนียบรัฐบาล นายสมัคร ยังกล่าวย้ำว่า สื่อมวลชนในวันนี้จะต้องเลือกข้างแล้ว เพราะหากนำเสนอข่าวฝ่ายพันธมิตรฯ บ้านเมืองจะเสียหาย เมื่อวานก็เขียนข่าวมั่วกล่าวหาว่านายสมัครหนีการแถลงข่าวหลังเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่วังไกลกังวล ทั้งที่ตนเข้าเคยเฝ้าฯ มาแล้ว 10 ครั้งในช่วงบริหารรัฐบาลนี้ และไม่เคยแถลงข่าวสักครั้ง แต่สื่อมวลชนกลับไปนำเสนอกล่าวโทษกันใหญ่โตหาว่านายสมัครหายตัว นัดแล้วไม่มาตามนัด วันนี้แม้แต่คนกวาดตลาดยังกลัวสื่อมวลชนยิ่งใหญ่เหลือเกิน แต่ไม่ใช่นักโต้วาทีอย่างนายสมัคร ที่เชื่อว่า “ความกลัวทำให้เสื่อม” นายสมัคร ยังกล่าวอีกว่า 5 แกนนำพันมิตรฯ เป็นใคร ไม่มีสถานะแต่กลับออกมาปลุกระดมคนหยิบมือป่วนบ้านเมืองให้วุ่นวาย มีพวกโง่อย่างสหภาพรัฐวิสาหกิจ ทั้งรถไฟ ขนส่งมวลชนกรุงเทพ และการบินไทย รวมตัวการละทิ้งหน้าที่ ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวไปทั่ว อย่างที่สนามบินภูเก็ต กระบี่ และหาดใหญ่ ปล่อยให้คนไม่กี่คนไม่มีอาวุธเข้าไปยึดสนามบินได้อย่างไร จะจ้าง รปภ.ไปทำไม ต้องไล่ออกไปให้หมด นอกจากนั้นยังมีเอเอสทีวีรายงานปลุกระดมด่ารัฐบาลตลอด 24 ชั่วโมง เพราะมีคำสั่งศาลปกครองคุ้มครอง แต่พอรัฐบาลจะไปยื่นคำร้องขอสั่งปิด กลับอ้างว่าไม่มีอำนาจสั่งเอกชนแล้วอย่างนี้ราษฎรตาดำๆ อย่างนายสมัครจะไม่ให้น้ำตาตกในอย่างไงไหว ยังมีไทยพีบีเอสอีกช่องที่ได้งบประมาณจากรัฐบาลปีละ 2,000 ล้านบาท ออกอากาศเชียร์พันธมิตรฯ กันสนุกปาก ขอยืนยันว่ารัฐบาลชุดนี้มาจากการเลือกตั้งที่ชอบด้วยกฎหมายทุกประการ อย่าหวังจะมาปลุกระดมจ้องล้มรัฐบาลโดยใช้ข้ออ้างแก้ รธน.หรือการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ นายกรัฐมนตรี ยอมรับว่า เป็นผู้ออกคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้กำลังเข้าสลายกลุ่มพันธมิตรฯ ตามคำสั่งศาลแพ่งที่มีคำพิพากษาให้รื้อถอนเวทีที่มัฆวานรังสรรค์ โดยอ้างว่าตำรวจไม่มีอาวุธ ใช้มือเข้าสลายการชุมนุม ซึ่งขัดแย้งกับภาพข่าวที่ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ได้ใช้กระบองทุบตีประชาชนและใช้อาวุธปืนจี้กลุ่มผู้ชุมนุมด้วย นายสมัครกล่าวต่อว่า หลังจากทราบว่าศาลแพ่งทุเลาคำขอบังคับ ให้พันธมิตรฯ ชุมนุมต่อไปได้ ตนจึงได้มีคำสั่งให้ตำรวจถอนกำลังกลับเพราะเกรงว่าจะมีการเผชิญหน้า พร้อมปฏิเสธว่าเจ้าหน้าที่ไม่ได้ยิงแก๊สน้ำตาเข้าใส่ฝูงชนแน่ แต่อาจเป็นฝีมือของมือที่ 3 ส่วนจะมีจัดฉากใช้น้ำล้างหน้าล้างตา และถ่ายทอดออกอากาศประโคมข่าวกันนั้นจะเป็นจริงหรือไม่ นายสมัคร ยังกล่าวอีกว่า ในวันที่ 26 ก.ย.นี้ ตนจะต้องเดินทางไปประชุมสหประชาชาติ ซึ่งเรื่องนี้ได้เตรียมการมานานกว่า 3 เดือนแล้ว แต่ศาลอุทธรณ์จะมีการนัดอ่านคำพิพากษาคดีหมิ่นประมาท ในวันที่ 25 ก.ย. คงไม่เป็นอุปสรรคเพราะหากไม่เลื่อนคำพิพากษา ก็ยังมีสิทธิฎีกาต่อไป แม้จะยืนตามคำสั่งจำคุกของศาลชั้นต้นความเป็นนายกรัฐมนตรีก็ไม่สิ้นสภาพ ยืนยันจะบริหารบ้านเมืองต่อไป คำต่อคำ “หมัก” แหลด่าพันธมิตรฯ

ที่มา : http://manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9510000102739
โพสโดย :นางสาวศิริกานต์ทองเครือมา ID:5131601184

สมัคร ยอมเองลั่นไม่เสียหน้าหรอก!

จะปล่อยให้สถานการณ์เป็นอย่างนี้ต่อไปหรือ นายสมัครกล่าวว่า ไม่ๆ แต่ขออนุญาตไม่ตอบคำถามตอนนี้ ถึงขั้นตรงนี้ เราระมัดระวังที่จะไม่ให้เกิดเหตุยุ่งยาก
ภาพวันนี้สะท้อนว่ารัฐบาลเสียความชอบธรรมในการบริหารประเทศ นายสมัครกล่าวว่า "ไม่เป็นปัญหา มันต้องได้บ้างเสียบ้าง แต่ผมไม่ได้เสียสถานะไปในการทางเมือง ทั่วโลกเขาดูอยู่ว่าอะไรเป็นอะไร ภาพความรู้สึกของการไปยึดสถานที่นั้น มันไม่เป็นปัญหา มันเกิดขึ้นได้ ผมประชุมที่ทำเนียบไม่ได้ ก็ย้ายไปประชุมที่กองบัญชาการกองทัพไทย แต่มันต้องพอสมควร" "สมัคร" ยอมรับสั่งสลายม็อบพันธมิตรเอง แม้ศาลจะกรุณาให้ดาบมาถือไว้ ซึ่งตอนแรกคิดว่าจะเคลียร์พื้นที่ แต่เมื่อไตร่ตรองดูแล้วมันเป็นอันตราย จึงระงับไม่ให้ตำรวจสลายการชุมนุม และให้เขามารายงานตัว จะมอบตัวเมื่อไหร่ก็แล้วแต่ ฉะนั้น เรื่องนี้จะไม่ให้เกิดสปาร์คอะไรกันขึ้นมา ไม่มีการโชว์ดาวน์ ส่วนการจัดงาน 116 วันจากวัน แม่ถึงวันพ่อ ในวันที่ 30 สิงหาคม จะย้ายไปที่สวนอัมพร โดยตนจะทำหนังสือกราบบังคมทูลฯ ไปยังสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ว่าจะใช้ที่สวนอัมพร ส่วนการชุมนุมก็แล้วแต่ ไม่อยากวิพากษ์วิจารณ์ และยิ่งศาลแพ่งส่งมา ก็เป็นเรื่องของพันธมิตรแล้ว ไม่ใช่เรื่องของเรา "ขอขอบคุณนายอภิสิทธิ์ ที่ได้แถลงถ้อยคำที่เราฟังแล้วก็โอเค เป็นเหตุเป็นผล บ้านเมืองจะอยู่ได้เพราะเหตุผล ขอบคุณคุณอภิสิทธิ์ ขอบคุณทุกฝ่ายแม้กระทั่งคุณสุเทพ (เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์) เอาล่ะ ทุกอย่างแต่ละตัวบุคคลเขาจะรับผิดชอบเอาเอง ส่วนผมขออนุญาตไม่วิพากษ์วิจารณ์"




โพสต์โดย: นางสาวภัทราสิยากร ณ นคร ID: 5131601005


พปช.หางโผล่! ลั่นผนึก นปก.ต้านพันธมิตรฯ โวม็อบนับแสน

พลังประชาชนลอกคราบ! ขอร่วมแจมม็อบนรกป่วนกรุง ขึ้นเวทีสนามหลวงต่อต้านพันธมิตรฯ ทุกรูปแบบ คุยโวเกณฑ์คนร่วมขบวนนับแสนคน ยังอ้างสันติวิธีหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้า วันนี้ (31 ส.ค.) ที่ทำการพรรคพลังประชาชน นายประชา ประสพดี ส.ส.สมุทรปราการ พรรคพลังประชาชน ในฐานะแกนนำกลุ่มมหาประชาชนพิทักษ์ประชาธิปไตย ให้สัมภาษณ์ก่อนการประชุม ส.ส.ของพรรคว่า ขณะนี้กลุ่มมหาประชาชนและประชาชนทั่วไปมีมติเอกฉันท์ที่จะออกมาร่วมเคลื่อนไหวกับกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ที่ท้องสนามหลวง เพื่อเรียกร้องให้การเมืองกลับเข้าสู่ภาวะประชาธิปไตย และให้กำลังใจรัฐบาล รวมถึงสนับสนุนนายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรีต่อไป ต้องไม่มีการยุบสภาหรือลาออก ไม่เช่นนั้นในอนาคตเมื่อกลุ่มพันธมิตรฯ ไม่พอใจใครก็จะออกมาชุมนุมขับไล่ไม่รู้จบ ซึ่งจะส่งสัญญาณให้พลังเงียบออกมาเคลื่อนไหวสร้างความสมานฉันท์ร่วมกัน เพระได้เห็นแล้วว่าแม้รัฐบาลจะผ่อนปรน แต่กลุ่มพันธมิตรฯ ก็ยังฮึกเหิมไม่หยุด แม้แต่การขัดคำสั่งศาล ดังนั้นจึงต้องการจัดชุนนุมเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและนำกลุ่มพันธมิตรฯ กลับเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมต่อไป นายประชา กล่าวว่า การชุมนุมจะยึดแนวทางสันติ ไม่ใช้ความรุนแรงและหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้า โดยเชื่อว่าจะมีประชาชนเข้าร่วมนับแสน และ ส.ส.พรรคพลังประชาชนบางส่วนจะร่วมขึ้นเวทีปราศรัยที่ท้องสนามหลวงด้วย ทั้งนี้ ในเวลา 12.00 น.วันที่ 31 สิงหาคมนี้กลุ่มต่อต้านพันธมิตรฯ จะเดินทางมารวมตัวที่หน้ารัฐสภา เพื่อให้กำลังใจและสนับสนุนการประชุมร่วม 2 สภาซึ่งเป็นตัวแทนประชาชนได้ร่วมกันหาทางแก้ไขปัญหา แต่จะไม่ปักหลักชุมนุมหน้ารัฐสภาและคิดว่ากลุ่มพันธมิตรฯ ซึ่งยึดทำเนียบรัฐบาลเป็นที่มั่นจะไม่เดินทางมาเผชิญหน้า

ที่มา :http://manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9510000102788
โพลโดย : นางสาว ศิริกานต์ ทองเครือมา ID:5131601184

เมื่อสื่ออยู่ระหว่างสองฝ่ายที่จะห้ำหั่นกัน

ก็ย่อมจะโดนบีบคั้น และแสดงความเป็นผู้ทำหน้าที่เพื่อรายงานข่าวอย่างตรงไปตรงมาอย่างสุดกำลัง พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กับ คุณสมัคร สุนทรเวช ต่างก็กดดันสื่อให้มาอยู่ข้างตนเอง นั่นเป็นเรื่องที่เข้าใจได้...ตราบเท่าที่ฝ่ายที่เผชิญหน้ากันนั้นมีความเคารพในความเป็นนักวิชาชีพของคนทำข่าว แต่ทันทีที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายใช้การข่มขู่คุกคาม ไม่ว่าจะด้วยกำลังหรือวาจา เมื่อนั้น สื่อเองจะต้องพิสูจน์ความเป็นตัวตนที่แท้จริง และตัวตนที่แท้จริงของสื่ออาชีพนั้น ก็คือการประกาศยืนยันที่จะทำหน้าที่ของตนโดยไม่ยอมสยบต่อแรงกดดันจากฝ่ายใด... เพราะท้ายที่สุดแล้ว สื่ออาชีพมีหน้าที่และความรับผิดชอบ ที่จะต้องรายงานข่าวรอบด้านให้กับประชาชนส่วนใหญ่ที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง เมื่อจุดยืนของสื่ออาชีพเป็นเช่นนี้ ทันทีที่เห็นภาพคนกลุ่มหนึ่งเข้าบุกยึดสถานีทีวี NBT (ช่อง 11) และขับไล่ฝ่ายข่าวที่กำลังออกอากาศอยู่ด้วยน้ำเสียงและลีลาข่มขู่ คนทำสื่อส่วนใหญ่ก็มิอาจจะรับได้ ไม่ว่าคนทำสื่ออื่นๆ จะเห็นด้วยหรือไม่กับการดำรงอยู่ของ NBT ที่รัฐบาลสมัคร ใช้เป็นกระบอกเสียงของตน แต่การจะทำให้สื่อของรัฐ (อันหมายถึงของประชาชน) กลับมาทำหน้าที่ของตน เพื่อรับใช้คนส่วนใหญ่นั้น ย่อมมีวิธีการและขั้นตอนที่สังคมอารยะกำหนดเอาไว้ ยิ่งคนกลุ่มที่แต่งตัวน่าเกรงขามนั้นเข้าไปกระทำการคุกคามคนข่าวในกองบรรณาธิการและช่างเทคนิคของสถานี (ซึ่งไม่ใช่ผู้กำหนดนโยบายของสถานี) ก็ยิ่งทำให้เห็นว่าคนกลุ่มนี้ไม่ได้สนใจไยดีกับ "ความถูกต้องชอบธรรม" ของการกระทำของตน
พันธมิตร ไม่ได้ปฏิเสธว่าคนเหล่านี้ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของการปฏิบัติการยึดทำเนียบรัฐบาลและกระทรวงหลายกระทรวงของเช้าวันอังคารที่ผ่านมา ดังนั้น จึงต้องให้พันธมิตรแสดงจุดยืนเรื่องนี้ออกมาให้กระจ่างชัด เพราะความเคลื่อนไหวของพันธมิตร ที่เรียกร้องให้ "กู้ชาติ" นั้น เป้าหมายสำคัญประการหนึ่งคือ การเคารพในเสรีภาพแห่งข่าวสารมิใช่หรือ? วันเกิดเหตุนั้น นักข่าว และเจ้าหน้าที่ของทีวีบางช่อง ก็โดนสมาชิกบางคนของพันธมิตร ข่มขู่คุกคามด้วยวาจา และมือไม้ที่แสดงให้เห็นว่าพันธมิตรบางคนเกิดความเข้าใจผิดๆ ว่าสื่อทุกสื่อจะต้องรายงานเฉพาะข่าวที่พวกตนเห็นด้วยเท่านั้น อีกด้านหนึ่งที่สื่อรับไม่ได้เหมือนกันก็คือการที่นายกรัฐมนตรีสมัคร พูดจากระทบกระเทียบสื่ออาชีพ ทำนองว่าเป็นผู้สนับสนุนให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง "วันนี้ สื่อเป็นกลางไม่ได้ สื่อต้องเลือกข้าง" คือ ประโยคที่หลุดออกมาจากปากของคนเป็นผู้นำประเทศที่มีหน้าที่จะต้องแก้ปัญหาของบ้านเมืองด้วยความสุขุม และรอบคอบ และเคารพในการทำหน้าที่ของฝ่ายต่างๆ ในสังคมที่ยังเคารพกฎหมายและเชื่อในระบอบประชาธิปไตย คุณสมัคร พูดเป็นทำนองข่มขู่สื่อว่าหากไม่อยู่ข้างรัฐบาลก็แปลว่าไม่ใช่คนไทยหรือไม่ก็เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความปั่นป่วนให้กับบ้านเมือง คุณสมัคร กล่าวร้ายสื่อมาตลอดตั้งแต่ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี โดยไม่สำเหนียกว่าสื่ออาชีพของประเทศไทยนั้นได้อยู่คู่บ้านคู่เมืองมาตลอดประวัติศาสตร์การเมืองของชาติ...และได้ทำหน้าที่ผ่านร้อนผ่านหนาวแห่งวิกฤติประเทศชาติมาแล้วมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการทำหน้าที่รายงานข่าวอย่างตรงไปตรงมาช่วง 14 ตุลา และ 6 ตุลา หรือ พฤษภาทมิฬ ทุกครั้งที่มีวิกฤติบ้านเมือง สื่อจะโดนกดดันให้ต้อง "เลือกข้าง" เช่นนี้เสมอ แต่ทุกครั้งที่ผ่านมานั้น สื่ออาชีพที่รับผิดชอบจะยืนหยัดในการทำหน้าที่อย่างซื่อสัตย์ต่อประชาชน ไม่ว่าจะถูกคุกคามทั้งทางตรงและทางอ้อมเพียงใด คุณสมัคร ไม่เข้าใจหรือว่า "ความเป็นกลาง" ของอาชีพสื่อนั้นหมายถึงการเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นผ่านสื่อ เพื่อแสวงหาทางออกให้พ้นจากวิกฤติของประเทศชาติ สื่อจะไม่ "เลือกข้าง" เพียงเพราะโดนกดดัน และ "ข้าง" ที่สื่อเลือกโดยความสำนึกแห่งวิชาชีพนั้นคือผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ เพราะทันทีที่สื่อใดทำตัวเป็นกระบอกเสียงของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดในความขัดแย้ง สื่อนั้นจะหมดความน่าเชื่อถือและหมดสภาพของการเป็นสื่ออาชีพที่รับผิดชอบทันที ทั้งคุณสมัครและพันธมิตรต้องเคารพการทำหน้าที่ของสื่อที่ไม่ได้มีผลประโยชน์เกี่ยวพันกับ "ชัยชนะ" หรือ "ความพ่ายแพ้" ของท่านเป็นอันขาด


โพสต์โดย: นางสาวชาลินี เอี่ยมโอน ID: 5131601043

ชะตาผู้นำพันธมิตร 9 คน!!

แผนการ "เป่านกหวีดเผด็จศึกรัฐบาลหุ่นเชิด" ของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย สร้างความวิตกกังวลด้านสถานการณ์การเมือง จนลามสู่ความหวาดหวั่นจะนำมาซึ่งผลกระทบด้านเศรษฐกิจ
+++ หากรัฐบาลภายใต้การนำของ นายสมัคร สุนทรเวช "เป่านกหวีด" สั่งตอบโต้กลับกลุ่มพันธมิตร ด้วยมาตรการความรุนแรง ชนิด "ตาต่อตา ฟันต่อฟัน" ก็เชื่อได้ว่า "บ้านเมืองคงลุกเป็นไฟ" แน่
+++ สถานการณ์การเผชิญหน้าระหว่างฝ่ายรัฐบาล กับ พันธมิตร ขณะนี้ ถือว่ารัฐบาลเป็นต่อ หลังฝ่ายพันธมิตรบุกเข้าไปยึดทำเนียบรัฐบาล จนศาลอาญาอนุมัติหมายจับกุม 9 แกนนำพันธมิตร ตามที่ตำรวจเสนอ
+++ ข้อหาหนึ่งที่ศาลอนุมัติหมายจับ และถือว่ารุนแรงมากก็คือ ข้อหากบฏ ซึ่งมีโทษถึงประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 113
+++ ต้องเกาะติดสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะชะตากรรมของ 1.นายสนธิ ลิ้มทองกุล 2.พล.ต.จำลอง ศรีเมือง 3.นายพิภพ ธงไชย 4.นายสมศักดิ์ โกศัยสุข 5.นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ 6.นายสุริยะใส กตะศิลา 7.นายอมร อมรรัตนานนท์ 8.นายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ และ 9.นายเทิดภูมิ ใจดี
+++ บุคคลเหล่านี้นอกจากจะถูก "ตราหน้า" ว่า เป็นกบฏในสายตารัฐบาลและตำรวจแล้ว ยังจะถูกดำเนินคดีตามมาอีกหลายข้อหา ประกอบด้วย เป็นผู้ใดสะสมกำลังพลหรืออาวุธ ตระเตรียมการ หรือสมคบกันเพื่อเป็นกบฏ ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3-15 ปี ตามมาตรา 114
++ มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง และเมื่อเจ้าพนักงานสั่งผู้ที่มั่วสุมให้เลิกแล้วไม่เลิก ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 215 และ 216
+++ ต้องรอดูท่าทีของ "มท.1-พล.อ.โกวิท วัฒนะ" ว่าจะสั่งให้ตำรวจปฏิบัติการอย่างไรต่อแกนนำพันธมิตรทั้ง 9 คน จะกล้า "เป่านกหวีด" ให้เจ้าหน้าที่บุกเข้าไปจับกุมบุคคลทั้ง 9 กลางฝูงชนที่ปักหลักชุมนุมอยู่ที่ทำเนียบรัฐบาลหรือไม่
+++ เพราะขณะนี้กลุ่มผู้ชุมนุมเองก็ได้เตรียมการ เพื่อป้องกันไม่ให้ตำรวจบุกเข้าไปจับกุมแกนนำพันธมิตร และสลายผู้ชุมนุมได้โดยง่าย โดยเฉพาะมีการระดมพลป้องกันตามประตูทางเข้าทำเนียบรัฐบาล
+++ มีการนำรถบรรทุกมาปิดกั้น นำรั้วเหล็กมามัดไว้ นำกำลังชายและหญิงมาเป็น "กำแพงมนุษย์" โดยให้ผู้หญิงอยู่แถวหน้า ผู้ชายอยู่แถวหลัง และยังมีนักรบศรีวิชัยและการ์ดถือไม้ เหล็กเส้น คุ้มกันอย่างแน่นหนา
+++กลุ่มผู้ชุมนุมเตรียมพร้อมรับมือตำรวจไว้เป็นขั้นเป็นตอน แน่นหนาอย่างนี้ มีหวังหากตำรวจทะเล่อทะล่า บุกเข้าไปจับกุมแกนนำพันธมิตร ได้เกิดเหตุปะทะกันแน่ๆ คิดแล้ว "น่าวิตก" อย่างยิ่ง
+++ ไม่ว่าฝ่ายไหนก็ตาม อยากให้นำเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ มาเป็น "บทเรียน" โดยเฉพาะเหตุการณ์ "พฤษภาทมิฬ" ที่เกิดขึ้นในปี 2535 เมื่อเกิดเหตุจลาจลขึ้น ไม่มีฝ่ายไหนได้ มีแต่เสียกับเสียทั้งสิ้น
+++ มีเสียงยืนยันมาจากบิ๊กเหล่าทัพ ไม่ว่าจะเป็น "ผบ.สส.-พล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์" หรือ "ผบ.ทอ.-พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข" การันตีว่า "ทหารจะเลือกอยู่ข้างประชาชน" พร้อมกันนี้ยังแนะรัฐบาลให้ใช้หลักทศพิธราชธรรม ในการแก้ปัญหา อย่าทำร้ายประชาชน
+++ การที่ ผบ.เหล่าทัพออกประกาศอย่างนี้ ไม่รู้ว่าจะเป็น "ของแสลง" สำหรับคนชื่อ สมัคร สุนทรเวช หรือไม่ เพราะไม่เป็นไปอย่างที่นายกรัฐมนตรีเรียกร้อง ที่ต้องการให้ยื่นอยู่ข้างรัฐบาล
+++"แหลมเชิงดอย" ขอเป็นอีกคนหนึ่งที่ประกาศตัว "ไม่เลือกข้าง-ไม่ยืนข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง" ทั้งสิ้น แต่จะขอทำหน้าที่ด้วยความเป็นกลาง ยืนข้างประชาชน ยืนข้างความถูกต้อง โดยมีเป้าหมายเพื่อประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติ เป็นหลัก
+++ ปิดท้ายกันที่ผลการสำรวจความรู้สึกของประชาชนเกี่ยวกับ "ทางออกฝ่าวิกฤติของประเทศไทย" ที่สำรวจโดย สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ซึ่งสำรวจประชาชนทั่วประเทศ 16 จังหวัด จำนวน 2,718 ตัวอย่าง
++ผลปรากฏว่าประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 79.4 กำลังกังวลว่า ความขัดแย้งทางการเมืองขณะนี้จะทำให้สังคมไทยกลายเป็นสภาพบ้านป่าเมืองเถื่อน นอกจากนี้ยังพบว่าส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 61.3 กำลังเครียดต่อสถานการณ์การเมือง
+++ ส่วนทางออกฝ่าวิกฤติต่างๆ ของคนในชาติต่อปัญหาขัดแย้งกำลังเกิดขึ้นขณะนี้ ผลสำรวจพบว่า อันดับแรก ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 90.8 ระบุถึงความรักความสามัคคีของคนในชาติ รองลงมาคือร้อยละ 84.6 ระบุให้ทุกฝ่ายยึดมั่นในกระบวนการยุติธรรม ร้อยละ 81.7 อยากให้เจรจากันด้วยสันติ
+++ขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 56.8 ยังคงมีความหวังว่าปัญหาขัดแย้งหรือฝันร้ายการเมืองทุกอย่างจะคลี่คลายจบลงได้ด้วยดี ในขณะที่ร้อยละ 43.2 หมดความหวังต่อสถานการณ์การเมืองของประเทศ


โพสต์โดย: นางสาวพรรณวิภา ติคำ ID: 5131601135

วันใดไร้ จำลอง วันนั้น เจอ พล.อ.พัลลภ

พล.อ.พัลลภ เพื่อน พล.ต.จำลอง จปร.รุ่น 7 ได้เปิดเผนว่าจะขึ้นเวทีเพื่อขับไล่รัฐบาลและนายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งไปทั้งคณะ หาก พล.ต.จำลอง ต้องถูกตำรวจจับกุมคุมขัง "ผมจะพูดขึ้นเวทีก็ต่อเมื่อ พล.ต.จำลอง ถูกเจ้าหน้าที่จับกุม การขึ้นเวทีครั้งนี้ถือเป็นสัญญาใจที่ผมกับจำลองที่เป็นเพื่อนรักเพื่อนตายกันมา ได้มีสัญญาอยู่ 2 ข้อ ตั้งแต่เกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ เมื่อ พล.ต.จำลอง ถูกจับกุมผมก็จะเข้าไปแทน ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนั้นการปฏิบัติการ 3 วันก็จบ ซึ่ง2ข้อที่ผมได้สัญญาไว้กับ พล.ต.จำลอง คือถ้าวันใดที่จำลองโดนตำรวจจับผมจะเข้าไปแทนทันที และที่ พล.ต.จำลอง ใช้ยุทธวิธีสันติวิธีแบบอหิงสา ซึ่งมันไม่ตรงกับผม แต่ผมจะใช้ยุทธวิธีปฏิบัติการรุก ซึ่งผมได้ตกลงกับจำลองมาตั้งนานแล้ว" เมื่อศาลอนุมัติออกหมายจับ พล.ต.จำลอง ก็ถือว่าเข้าข่ายข้อหนึ่งที่ได้ตกลงไว้ การไปเข้าร่วมครั้งนี้ถือเป็นเรื่องจิ๊บจ๊อย และเป็นเรื่องปกติธรรมดาในระบอบประชาธิปไตย ทั้งนี้ ตนไม่ได้มาเพิ่งตัดสินใจที่จะขึ้นเวทีพันธมิตรฯ แต่ได้ตัดสินใจมานานแล้วตามที่ได้ตกลงกันไว้ อย่างไรก็ตาม การที่ขึ้นเวทีครั้งนี้ก็ไม่ได้กลัวต่อภาพลักษณ์ที่ผ่านมา หาก พล.ต.จำลอง ถูกจับสถานการณ์คงวุ่นวายแน่ เพราะคำพูดของตนชัดเจนอยู่แล้ว สำหรับยุทธวิธีตนจะใช้วิธีรุก คงจะไม่ใช้วิธีตั้งรับเหมือนกับพล.ต.จำลอง รัฐบาลและนายกฯ ควรจะแสดงความรับผิดชอบด้วยการลาออก และตนมีวิธีที่จะให้รัฐบาลและนายกฯ ลาออก แต่ตนคงบอกไม่ได้ ซึ่งคาดว่าจะปฏิบัติการเพียง 3 วัน รัฐบาลก็ต้องลาออกยกชุดแล้ว เพราะยุทธวิธีรุกไม่เหมือนยุทธวิธีรับของพล.ต.จำลอง มีผู้ใหญ่หนุนหลังหรือไม่ พล.อ.พัลลภ กล่าวว่า ไม่มี แต่ถึงเวลานั้นคงจะมีคำตอบว่าทหารจะอยู่ข้างพี่หรือข้างไหน แต่ตนคิดว่า 3 วันคงเพียงพอที่รัฐบาลจะลาออก โดยตนจะใช้วิธีที่สั้นที่สุด จะไม่ใช้วิธีที่ยืดเยื้อแบบนี้ การขึ้นเวทีครั้งนี้ไม่มีผู้ใหญ่หนุนหลัง เป็นข้อตกลงที่ตนยึดถือมาตลอด "ที่ผ่านมา 100 วัน จะเห็นว่าผมไม่เคยเข้าไปยุ่งเกี่ยวเลย ผมเพียงแต่ติดตามสถานการณ์และเปิดทีวีดูเท่านั้น แต่วันใดที่พล.ต.จำลองถูกจับเข้าคุก ผมจะขึ้นเวทีเพื่อประกาศชัยชนะให้กับพันธมิตรฯ ทันที ทั้งนี้เห็นว่ารัฐบาลหมดความชอบธรรมในการบริหารมาตั้งนานแล้ว ตั้งแต่ไปเซ็นสัญญายกดินแดนให้กับเขมร ซึ่งถือว่าผิดรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 ดังนั้น นายกฯและครม.ต้องแสดงความรับผิดชอบด้วยการลาออก"




โพสต์โดย: นางสาวภัทราสิยากร ณ นคร ID: 5131601005




สมัคร-พันธมิตร เดิมพันด้วยเลือดผู้บริสุทธิ์

ฉากใหม่ที่ต้องจารึกไว้ในประวัติศาสตร์การเมืองไทยในรอบ 76 ปี คงหนีไม่พ้นการบุกยึดทำเนียบรัฐบาลจนรัฐบาล "สมัคร สุนทรเวช" ต้องหนีหัวซุกหัวซุนตกอยู่มีสภาพมีอำนาจแต่บริหารไม่ได้ แม้ปากผู้นำประเทศจะบอกว่าปฏิบัติการ "ไทยคู่ฟ้า" ของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจะไม่ส่งผลต่อการบริหารประเทศ เพราะสามารถหาทางออกด้วยการย้ายที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ไปประจำการที่กองบัญชาการกองทัพไทยได้ ทว่าทางออกนี้คงไม่เกิดขึ้นกับคนชื่อ "สมัคร" บ่อยนัก แต่เมื่ออยู่ในภาวะจำยอมผู้เฒ่าที่คร่ำหวอดการเมืองผู้นี้จำเป็นต้องถอยร่นเพื่อหาทางสู้ เพราะเวลานี้ฝูงชนบุกยึดทุกตารางนิ้วของทำเนียบรัฐบาลจนฝ่ายปฏิบัติไม่สามารถเข้า-ออกได้ ยิ่งเมื่อได้ฟังการประกาศของ "แม่ทัพใหญ่" อย่าง "สนธิ ลิ้มทองกุล" เมื่อบ่ายวันที่ 26 ส.ค. บริเวณทางขึ้นตึกไทยคู่ฟ้าที่ว่า "วันนี้ถือเป็นวันแรกในประวัติศาสตร์ชาติไทยที่ประชาชนชาวบ้านธรรมดาเข้ามาเหยียบตึกไทยคู่ฟ้า ซึ่งเราจะไม่ออกจากทำเนียบจนกว่าจะได้รับชัยชนะ" ก็ยิ่งเป็นการส่งสัญญาณที่ไม่ยอมจบ สิ่งเดียวที่จะจบ คือ การได้รับชัยชนะ หากพิจารณาชัยชนะที่พันธมิตรวางไว้ 3 ข้อ คือ รัฐบาลต้องไม่แก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 นั้น ดูท่าจะเป็นไปได้ เพราะเวลานี้คณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาการบังคับใช้เพื่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 มีกระบวนการ "เตะตัดขา" ไม่ยอมคลอดผลการศึกษาเสียที ซึ่งคาดว่าสมัยประชุมนิติบัญญัตินี้คงไม่สามารถหาข้อสรุปได้ ประเด็นนี้น่าจะมีเสียงตอบรับจาก "สมัคร" เว้นแต่ "นายใหญ่สั่งมา"
สำหรับข้อเสนอที่ 2 และ 3 ที่ว่า "รัฐบาลต้องลาออกและสร้างการเมืองใหม่อย่างไม่เห็นแก่ตัว" นั้น ดูท่าจะเป็นไปได้ยาก ถ้าหากพิจารณาจากประวัติทางการเมืองของ "สมัคร"ยามนี้ประเด็นการ "ลาออก" หรือ "ยุบสภา" จึงแทบจะไร้เปอร์เซ็นต์ความสำเร็จ เพราะหลังจาก "พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร" อดีตนายกรัฐมนตรี หอบหิ้วครอบครัวพ้นน่านฟ้าเมืองไทยไปอยู่ลอนดอน โอกาสทองของ "นายกฯ ต้นทุนต่ำ" ก็เปิดออกและโอกาสแบบนี้คงมาไม่บ่อยนัก
จึงไม่แปลกที่ "สมัคร" จะหาวิธีการเพื่อให้ได้อยู่ในอำนาจมากที่สุด ยุทธการขุดบ่อปลาล่อให้พันธมิตรตกหลุมพราง แล้วเปิดเกมบุกทำเนียบรัฐบาล จึงสามารถทำลายภาพลักษณ์ของพันธมิตรได้อย่างจัง เพราะภาพพันธมิตรวันนี้ "ติดลบจนยากจะกู้คืน" โดยเฉพาะภาพของชายฉกรรจ์ใช้ผ้าปิดหน้าจำนวนมากบุกเข้าไปที่สถานีโทรทัศน์เอ็นบีที ทำลายข้าวของ บังคับขู่เข็ญ แถมพกอาวุธและยาเสพติดเข้าไป ที่ถูกแพร่ภาพฉายซ้ำแล้วซ้ำเล่าทางสถานีโทรทัศน์แทบทุกช่อง
เพราะภาพพฤติกรรมที่ออกมายากนักที่คนที่นั่งอยู่หน้าจอทีวีทั่วประทศจะยอมรับได้ ภาพเหล่านี้ยิ่งสร้างความชอบธรรมให้กับรัฐบาลในการดำเนินคดีตามกฎหมาย ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่ทุกฝ่ายทั้งฝ่ายหนุนและต้านรัฐบาลพูดออกมาตลอดว่าทุกฝ่ายต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย รัฐบาลจึงการเปิดเกมด้วยการโร่พึ่ง "ศาลอาญา" เพื่อขออนุมัติหมายจับแกนนำพันธมิตรทั้ง 9 คน ได้แก่ สนธิ ลิ้มทองกุล,พล.ต.จำลอง ศรีเมือง,สมศักดิ์ โกศัยสุข,สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์,พิภพ ธงไชย,สุริยะใส กตะศิลา,ไชยวัฒน์ สินสุวงศ์,อมร อมรรัตนานนท์ และเทิดภูมิ ใจดี โดยอ้างเหตุ "มีการมั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปใช้กำลังประทุษร้ายหรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง โดยมีผู้กระทำความผิดเป็นหัวหน้าเป็นผู้มีหน้าที่สั่งการ ซึ่งเป็นข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 215 และมาตรา 126" จึงมีความชอบธรรมพอสมควร ทว่าก็เป็นเรื่องน่าแปลกใจเมื่อแกนนำทั้ง 9 คน ยอมเปิดทางให้จับโดยดุษฎี แต่กลับมีถ้อยคำแข็งกร้าวออกจากปาก "พล.ต.จำลอง" บอกว่า "เราจะไม่ยอมถอย หากถูกจับกุม แกนนำรุ่นต่อไปก็จะเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะยอมเปิดทางให้มีการเปิดงานโครงการจากวันแม่ถึงวันพ่อ 116 วันสร้างสามัคคีหรือไม่ เพราะเราไม่อยากโดนหลอกอีกแล้ว" ท่าทีการไม่ยอมศิโรราบของแกนนำพันธมิตร คราวนี้จึงน่าจับตาว่า "เป็นแผนฮาราคีรี" เพื่อจุดชนวนการจลาจลขึ้นกลางเมืองขึ้นหรือไม่ เพราะการไม่ออกจากทำเนียบตามหมายจับ และยังใช้โล่มนุษย์เป็นกำแพงป้องกันตำรวจบุกเข้ามาจับตัวเท่ากับเป็นการเติมเชื้อไฟเข้าไป เพราะเมื่อใดที่ตำรวจบุกเข้าไป โอกาสการเผชิญถึงเลือดตกยางออกก็มีความเป็นไปได้สูงและภาพที่ตำรวจใช้กำลังเข้าสลายม็อบหรือบุกจับแกนนำก็จะถูกเผยแพร่ออกตามสื่อต่างๆ จะกลายเป็นเชื้อไฟอย่างดีในการปลุกกระแสความเกลียดชังรัฐบาลให้ขยายขึ้นไปอีก ซึ่งรัฐบาลก็รู้ดีถึงสถานการณ์เช่นนั้นและไม่อยากให้เกิดขึ้นแน่นอนเพราะรู้ดีว่าเงื่อนไขนี้เท่ากับเป็นการปลุกเร้าให้กองทัพต้องออกมาทำอะไรสักอย่างนี้คือเกมต่อรองของสองฝ่ายที่มีเลือดประชาชนผู้บริสุทธิ์เป็นเดิมพัน...


โพสต์โดย: นางสาวชาลินี เอี่ยมโอน ID: 5131601043

สื่อนอกชี้ทางเลือกวิกฤตการเมืองไทย “ยุบสภา-ลาออก-รัฐประหาร”


เอเจนซี - รอยเตอร์จัดทำบทวิเคราะห์ถึงทิศทางความเป็นไปได้สำหรับวิกฤตการเมืองไทย หลังพันธมิตรฯ บุกยึดทำเนียบขับไล่นายสมัคร แต่ระบุไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ยากเยียวยาความแตกแยกอันร้าวลึกในสังคมไทยได้ สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ผู้ประท้วงหลายพันคนที่เข้ายึดทำเนียบรัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช ตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคม พร้อมประกาศอยู่จนกว่าเขาและรัฐบาลเลือกตั้งของเขาจะล่มสลาย อย่างไรก็ตาม นายสมัคร ย้ำว่า เขาจะไม่ทำตามคำเรียกร้องของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่เขากล่าวหาว่าเป็นม็อบที่ผิดกฎหมาย รอยเตอร์ระบุว่า ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นในฉากละครต่อไปนี้ ดูเหมือนจะไม่สามารถเยียวยาความแตกแยกอันร้าวลึกในสังคมไทยระหว่างคนชนบทและชาวนครที่ยากจนผู้สนับสนุนอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ที่ถูกรัฐประหารเมื่อปี 2006 กับชนชั้นกลางในกรุงเทพฯ ซึ่งชิงชังเขา ทั้งนี้ รอยเตอร์ ยังวิเคราะห์ถึงทิศทางความเป็นไปได้ในอนาคตสำหรับวิกฤตการเมืองของประเทศไทยครั้งล่าสุด สมัครยุบสภา-เลือกตั้งใหม่- นายสมัคร ยุบสภา ประกาศให้มีการเลือกตั้งใหม่ในความหวังว่ามันจะนำลมปัดเป่าพันธมิตรฯออกไป อย่างไรก็ตาม ด้วยการที่พรรคพลังประชาชนของนายสมัคร ซึ่งตั้งขึ้นมาแทนพรรคไทยรักไทยของทักษิณที่ถูกยุบ น่าจะเป็นฝ่ายชนะและก้าวขึ้นมาเป็นรัฐบาลถัดไป และดูเหมือนว่าพันธมิตรฯอาจไม่หยุดแผนต่อสู้ของพวกเขา รัฐบาลจะเปิดอภิปราย และมีความน่าจะเป็นว่าเตรียมผ่านงบประมาณของชาติใหม่ในสัปดาห์ เติมเงินเต็มถังให้รัฐบาลสำหรับใช้ในการเลือกตั้ง สมัครประกาศ พ.ร.บ.ฉุกเฉิน - นายสมัคร ประกาศภาวะฉุกเฉินเพื่อขอทหารเข้าช่วยไล่ผู้ชุมนุมนับหมื่นคนออกจากทำเนียบรัฐบาล อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ยังสิงสู่ในจิตใจจากการใช้กำลังปราบปรามผู้ประท้วงฝักใฝ่ในประชาธิปไตยครั้งนองเลือดเมื่อปี 1992 จึงไม่แน่นอนว่าทหารจะปฏิบัติตามคำสั่งนี้ทหารรัฐประหาร- ด้วยที่จะครบรอบ 2 ปี เหตุรัฐประหารทักษิณ ในวันที่ 19 กันยายน ผู้บัญชาการทหารบก พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา ได้ย้ำว่ารัฐประหารอีกครั้งไม่ได้ช่วยคลี่คลายรากฐานปัญหาการเมืองไทย อย่างไรก็ตาม หากความรุนแรงขยายตัวและมีประชาชนได้รับบาดเจ็บหรือถูกฆ่า ทหารอาจมีเหตุผลในการเข้ามาแทรก โดยอ้างความสมานฉันท์ภายในชาติและบังคับให้รัฐบาลลงจากอำนาจ สมัคร หมดความอดดทน สั่งตำรวจเข้าสลายผู้ประท้วง - กิตติศัพท์ของเขาในฐานะผู้ยุยงการปราบปรามนองเลือดนักศึกษาฝ่ายซ้ายในปี 1976 สมัคร แสดงความยับยั้งชั่งใจมาตลอด แต่หลายคนสงสัยว่าเขาจะอดทนได้นานแค่ไหนอาจมีการบาดเจ็บล้มตายจำนวนมากหากตำรวจปราบจราจลบุกเข้าใส่พื้นที่การชุมนุม บริเวณที่มีผู้หญิงวัยกลางคนนั่งสลับกับวัยรุ่นชาย และไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้คือความขยะแขยงของสาธารณชนต่อการเลือดตกยางออกซึ่งอาจจุดชนวนความล่มจมของนายสมัคร สมัคร ลาออก- หากนายสมัครลาออกพร้อมกับคณะรัฐมนตรี จากนั้นจะขึ้นอยู่กับพรรคฝ่ายค้านประชาธิปัตย์ ซ่อมแซมรัฐบาลผสม แต่ถ้าล้มเหลว ผลที่ตามมาคือต้องเลือกตั้งใหม่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีอิทธิพลทางความคิดด้านการเมืองอย่างไม่เป็นทางการ และในรอบ 6 ทศวรรษที่ทรงครองราชย์ พระองค์ทรงเข้ามาคลี่คลายข้อขัดแย้งหลายครั้ง ในช่วงต้นเดือนพระองค์ทรงตำหนินโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลและการปฏิบัติตัวของรัฐบาลในการโต้เถียงกับธนาคารแห่งประเทศไทยเกี่ยวกับวิธีจัดการกับปัญหาเงินเฟ้อ ดังนั้นการเข้ามาแทรกใดๆ ของพระองค์ จึงอาจไม่เป็นที่ชื่นชอบของรัฐบาล


ที่มา : http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9510000102774
โพสโดย:นางสาวศิริกานต์ ทองเครือมา ID:5131601184

ภูเก็ต-กระบี่จัดระบบดูแลรถเข้า-ออกสนามบิน

ภูเก็ต,กระบี่ 31 ส.ค.- ท่าอากาศยานภูเก็ตเปิดบริการตามปกติแล้ววันนี้ แม้ยังมีพันธมิตรฯ ชุมนุม ด้านรอง ผบช.ภ.8 ยันไม่สลายการชุมนุม แต่จัดกำลังดูแลไว้เรียบร้อย รวมทั้งเส้นทางเข้ารถนักท่องเที่ยว เช่นเดียวกับท่าอากาศยานกระบี่วางระบบคุมเข้มต่อ นายวรพจน์ รัฐสีมา รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต น.ท.วิชา เนินลพ ผู้อำนวยการท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต พร้อมตัวแทนภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ร่วมแถลงที่ห้องประชุมท่าอากาศยานฯ ช่วงสายที่ผ่านมา (31 ส.ค.) ว่า ทุกฝ่ายมีมติเห็นพ้องให้เปิดการบินตามปกติตั้งแต่เวลา 11.00 น.วันนี้ เป็นต้นไป โดยเที่ยวบินแรกจากสุวรรณภูมิจะมาถึงภูเก็ตเวลา 15.30 น. ของสายการบินไทยเที่ยวบินทีจี 213 และเที่ยวบินทีจี 214 ของการบินไทย จะออกจากภูเก็ตเวลา 16.20 น. ไปสุวรรณภูมิ ด้าน พล.ต.ต.พิสัณห์ จุลดิลก รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 8 กล่าวว่า จัดกำลังเจ้าหน้าที่ไว้ดูแลรักษาความปลอดภัยของท่าอากาศยานไว้อย่างเต็มที่ แม้ขณะนี้ยังมีการชุมนุมของเครือข่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จ.ภูเก็ต อยู่บริเวณจุดเดิมประตูทางเข้า-ออก โดยเจ้าหน้าที่จะไม่สลายการชุมนุม แต่จะคอยดูแลให้อยู่ในความสงบ ซึ่งรถยนต์ของนักท่องเที่ยวนั้น เจ้าหน้าที่จัดเส้นทางให้เข้าถึงท่าอากาศยานฯ ไว้แล้ว ส่วน นายวิโรจน์ แก้วแจ้ว หนึ่งในแกนนำเครือข่ายพันธมิตรฯ กล่าวว่า เสียใจกับเหตุวุ่นวายที่เกิดขึ้น และวันนี้ประมาณ 14.30 น. ทางกลุ่มฯ จะออกแถลงการณ์ฉบับที่ 2 อีกครั้ง เพื่อแสดงจุดยืนของการเคลื่อนไหว ขณะเดียวกันท่าอากาศยานนานาชาติกระบี่ เปิดบริการปกติ โดยเที่ยวแรกเป็นสายการบินไทย ทีจี 249 พาผู้โดยสารจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิกว่า 100 คน มายังกระบี่เวลา 09.20 น. และเที่ยวบินทีจี 250 ออกจากกระบี่-สุวรรณภูมิ เวลา 10.10 น. ส่วนสายการบินจากกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ตามกำหนดการบินปกติวันนี้แจ้งยกเลิกไป อย่างไรก็ตาม ท่าอากาศยานฯ ประสานขอกำลังเจ้าหน้าที่เข้ามาดูแลความเรียบร้อยไว้อีกระยะ พร้อมกับนำแผงเหล็กกั้นด้านหน้าติดถนนกระบี่-เหนือคลอง ปากทางเข้าท่าอากาศยานฯ โดยเปิดเฉพาะขาออก 1 ช่องทาง ส่วนรถที่จะนำผู้โดยสารเข้าให้ใช้ทางเข้าสำรองเพียงทางเดียว


โพสต์โดย: นางสาวพรรณวิภา ติคำ ID: 5131601135

เปิดให้บริการท่าอากาศยานฯภูเก็ตแล้ว แม้พันธมิตรยังปิดทางเข้า-ออก

31 ส.ค. - รถไฟยังคงหยุดวิ่งต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 ทำให้ประชาชนความเดือดร้อน โดยเฉพาะนักเรียนนักศึกษา ที่ต้องโดยสารรถไฟไปเรียนหนังสือ ส่วนท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต ล่าสุดเปิดให้บริการแล้ว ถึงแม้กลุ่มพันธมิตรจะยังคงปักหลักปิดทางเข้า-ออก เช้าวันนี้บรรยากาศที่หัวลำโพง ยังคงเป็นไปอย่างเงียบเหงา เนื่องจากรถไฟยังคงหยุดการเดินรถต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 โดยเฉพาะสายอีสาน ที่สถานีรถไฟจังหวัดนครราชสีมา พนักงานขับรถไฟขบวนท้องถิ่น นำรถไฟ มาจอดทิ้งไว้ ทำให้รถไฟทั้งขาขึ้นและขาล่อง ไม่สามารถวิ่งผ่านได้ เจ้าหน้าที่แก้ปัญหาโดยนำรถบัสไปส่งผู้โดยสารแทน ส่งผลให้รถไฟขาขึ้นจากสถานีอุบลราชธานีต้องหยุดให้บริการด้วย แต่ยังมีประชาชนบางส่วนที่ยังไม่ทราบข่าว เดินทางมารอขึ้นรถไฟ แต่ต้องผิดหวังเมื่อเจ้าหน้าที่แจ้งให้ทราบว่ารถไฟหยุดวิ่งอีก 1 วัน
เช่นเดียวกับรถไฟสายเหนือและสายใต้ ประกาศหยุดวิ่งทุกขบวน ทำให้บรรยากาศตามสถานีรถไฟต่าง ๆ เป็นไปอย่างเงียบเหงา โดยเฉพาะที่จังหวัดพิจิตรและพิษณุโลก เจ้าหน้าที่ติดป้ายแจ้งให้ประชาชนทราบว่า วันนี้งดให้บริการรถไฟทุกขบวนทั้งขาขึ้นและขาล่อง สร้างความเดือดร้อนให้ประชาชน และนักเรียน นักศึกษา เป็นอย่างมาก นักศึกษาคนหนึ่งบอกว่าจำเป็นต้องโดยสารรถไฟไปเรียนหนังสือ แต่วันนี้รถไฟหยุดวิ่งจึงไม่สามารถไปเรียนหนังสือได้ จึงอยากวิงวอนให้ผู้ใหญ่ยุติความขัดแย้งหันหน้าเข้าคุยกัน หาวิธีแก้ปัญหาโดยสันติ ส่วนที่สถานีรถไฟเชียงใหม่ เจ้าหน้าที่นำป้ายประกาศหยุดเดินรถทุกขบวน ไปติดประกาศแจ้งให้ประชาชนทราบ นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่ซื้อตั๋วไว้ล่วงหน้าต้องเปลี่ยนไปใช้บริการ บ.ข.ส.แทน ขณะที่ท่าอากาศยานภูเก็ต ซึ่งถูกพันธมิตรปิดทางเข้า-ออก จนต้องปิดสนามบิน นาวาอากาศเอกวิชา เนินลพ ผู้อำนวยการการท่าอากาศยานภูเก็ต ประชุมชี้แจงให้สมาคมท่องเที่ยว และผู้ประกอบการสายการบินทราบถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ล่าสุดเมื่อเวลา 11.00 น.ที่ผ่านมา มีการประกาศเปิดใช้สนามบิน ถึงแม้กลุ่มพันธมิตรยังคงปิดทางเข้า-ออก โดยจะเลี่ยงไปใช้ทางเข้า-ออกอื่นแทน คาดว่าเที่ยวบินเที่ยวแรก จะขึ้นจากท่าอากาศยานภูเก็ตได้เวลาประมาณ 14 นาฬิกา และจะมีเที่ยวบินจากท่าอากาศสุวรรณภูมิมาลงจอดเวลาประมาณ 15 นาฬิกา ส่วนมาตรการรักษาความปลอดภัย เจ้าหน้าที่จะสกัดกั้นไม่ให้พันธมิตรเข้ามาในท่าอากาศยานได้ ส่วนสนามบินหาดใหญ่ กระบี่ และสุราษฎร์ธานี สามารถเปิดให้บริการได้ตามปกติ แต่ต้องเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด โดยเฉพาะที่สนามบินหาดใหญ่ มีการตั้งกองอำนวยการร่วมรักษาความปลอดภัย เตรียมรับสถานการณ์หากกลุ่มพันธมิตรชุมนุมปิดสนามบินอีกครั้ง และมีผู้โดยสารจากภูเก็ตบางส่วนทยอยมาขึ้นเครื่องที่สนามบินหาดใหญ่




โพสต์โดย: นางสาวภัทราสิยากร ณ นคร ID: 5131601005

โปรดเกล้าฯ “ประยุทธ์” ติดโผ 5 เสือ นั่งเสนาธิการ ทบ.




พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายทหารรับราชการ ประจำปี 2551 จำนวนกว่า 500 ตำแหน่ง “พล.ท.ประยุทธ์” ติดโผ 5 เสือ นั่งเก้าอี้เสนาธิการทหารบก ขณะที่ พล.อ.ทรงกิตติ จักกาบาตร์ นั่งผบ.สส. วันนี้ (31 ส.ค.) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้งนายทหารรับราชการ ประจำปี 2551 แล้ว รวมทั้งสิ้น 556 ตำแหน่ง โดยมีตำแหน่งสำคัญดังนี้ พล.อ.ทรงกิตติ จักกาบาตร์ เสนาธิการทหาร เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด พล.อ.จิรเดช คชรัตน์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก เป็นรองผู้บัญชาการทหารบก พล.ท.วิโรจน์ บัวจรูญ แม่ทัพภาคที่ 4 เป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก พล.ท.ประยุทธ์ จันทร์โอชา แม่ทัพภาคที่ 1 เป็นเสนาธิการทหารบก โดยมี พล.ต.คณิต สาพิทักษ์ รองแม่ทัพภาคที่ 1 เป็นแม่ทัพภาคที่ 1 พล.ต.พิเชษฐ์ วิสัยจร รองแม่ทัพภาคที่ 2 เป็นแม่ทัพภาคที่ 4 ในส่วนของกองทัพเรือ พล.ร.อ.กำธร พุ่มหิรัญ ประธานคณะที่ปรึกษากองทัพเรือ เป็นผู้บัญชาการทหารเรือ พล.ร.อ.สมเดช ทองเปี่ยม ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ เป็นรองผู้บัญชาการทหารเรือ กองทัพอากาศ พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ์ เสนาธิการทหารอากาศ เป็นผู้บัญชาการทหารอากาศ พล.อ.อ.คณาพันธุ์ สงวนสัตย์ ผู้บัญชาการกองบัญชาการยุทธทางอากาศ เป็นรองผู้บัญชาการทหารอากาศ พล.อ.ท.มานิต สพันธุพังษ์ รองเสนาธิการทหารอากาศ เป็นเสนาธิการทหารอากาศ ส่วน พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต ที่ปรึกษาพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ซึ่งเคยเป็นแคนดิเดตในตำแหน่งผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นจเรทหารทั่วไป ขณะที่ สำนักปลัดกระทรวงกลาโหม มี พล.อ.อภิชาติ เพ็ญกิตติ รองปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นปลัดกระทรวงกลาโหม และ พล.อ.อ.พุฑฒิ มังคละพฤกษ์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นรองปลัดกระทรวงกลาโหม
โพสโดย: นางสาวศิริกานต์ ทองเครือมา ID:5131601184

พปช.แนะรัฐบาลแจงความเสียหายจากการทำผิด กม.ของพันธมิตรฯ

กรุงเทพฯ 31 ส.ค. - โฆษก พปช. เผย ส.ส.พปช.ยืนยันสนับสนุนนายกรัฐมนตรี ให้แก้ปัญหาวิกฤตที่เกิดขึ้นตามระบบรัฐสภา และจัดการกับการละเมิดกฎหมายบ้านเมืองของพันธมิตรฯ เพื่อรักษาระบอบและกฎหมาย
ร.ท.กุเทพ ใสกระจ่าง โฆษกพรรคพลังประชาชน เปิดเผย ภายหลังการประชุม ส.ส.พรรคพลังประชาชน เช้าวันนี้ (31 ส.ค.) ว่า ส.ส.พรรคพลังประชาชนยังยืนยันสนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ให้แก้ปัญหาวิกฤตที่เกิดขึ้นตามระบบรัฐสภา และจัดการกับการละเมิดกฎหมายบ้านเมือง ของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่ยึดทำเนียบรัฐบาล และหน่วยงานราชการ เพื่อรักษาระบอบและกฎหมาย ร.ท.กุเทพ กล่าวว่า ที่ประชุมเห็นว่า รัฐบาลต้องชี้แจงในที่ประชุมร่วมของรัฐสภา วันนี้ ให้เห็นว่า เหตุการณ์ยึดสถานที่ราชการ ปิดล้อมสนามบิน สร้างความเสียหายมากแค่ไหน และต้องชี้แจงเรื่องการรักษากฎหมาย เพื่อให้มีบรรทัดฐาน และจะสอบถามจุดยืนของพรรคประชาธิปัตย์ กรณีที่แกนนำพันธมิตรฯ ออกมาสนับสนุนให้พรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล ดันนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี


โพสต์โดย: นางสาวพรรณวิภา ติคำ ID: 5131601135

ภาค กทม.พปช.เรียกร้อง ส.ว.-นักวิชาการ-ประชาชน แยกตัวจากพันธมิตรฯ

กรุงเทพฯ 31 ส.ค. - น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ ส.ส.กทม. แถลง ผลการประชุมภาค กทม. พรรคพลังประชาชน ที่มี นายสุวัฒน์ วรรณศิริกุล เป็นประธาน ว่า ภาค กทม.ได้แสดงความห่วงใย ที่การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้สร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจ และสังคม รวมทั้ง สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชน จึงขอเรียกร้องให้ ส.ว. นักวิชาการ และประชาชน ที่แสดงความเห็นสนับสนุนพันธมิตรฯ แยกตัวออกมา เพราะการกระทำของพันธมิตรฯ เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย แม้การแสดงความคิดเห็นจะเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน แต่เมื่อศาลมีคำสั่งออกมาแล้ว ก็ควรส่งเสริมกระบวนการยุติธรรม ให้แกนนำพันธมิตรฯ มอบตัวพิสูจน์ความบริสุทธิ์ต่อไป ขณะที่ นายวัฒนา เซ่งไพเราะ ประธานฝ่ายกฎหมายภาค กทม.พรรคพลังประชาชน กล่าวเสริมว่า หากจำเป็นที่จะต้องมีการประกาศใช้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ก็ขอให้เป็นมาตรการสุดท้าย และต้องได้รับความยอมรับจากฝ่ายความมั่นคงด้วย ยืนยัน พรรคพลังประชาชนไม่สนับสนุนการใช้ความรุนแรง และไม่สนับสนุนให้ ส.ส. และประชาชน ไปมีการเคลื่อนไหวกับกลุ่มต่าง ๆ ในขณะนี้


โพสต์โดย: นางสาวชาลินี เอี่ยมโอน ID: 5131601043

วิปรัฐบาลคาดใช้เวลาอภิปรายวิกฤตการเมืองไม่ต่ำกว่า 10 ชม.

รัฐสภา 31 ส.ค. - เมื่อเวลา 12.00 น. นายวิทยา บูรณศิริ ประธานคณะกรรมการ ประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) เปิดเผยภายหลังการประชุมวิปรัฐบาลว่า จะพยายามทำให้การประชุมร่วมรัฐสภาครั้งนี้เป็นไปตามความคาดหวังของประชาชน โดยให้แต่ละพรรคไปควบคุมการอภิปรายให้อยู่ในประเด็น โดยเบื้องต้นจะกำหนดให้สมาชิกใช้เวลาอภิปรายประมาณ 10 ชั่วโมง ไม่รวมเวลาของนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรครัฐบาล ซึ่งคงจะนำไปหารือกับฝ่ายค้าน วุฒิสภา และประธานรัฐสภาอีกครั้ง เมื่อถามว่าฝ่ายค้านกังวลว่าการประชุมร่วมรัฐสภาครั้งนี้อาจไม่ประสบความสำเร็จ นายวิทยา กล่าวว่า คงคิดไปเองมากกว่า เพราะอย่าลืมว่านายกรัฐมนตรีเองต้องการคำปรึกษา เนื่องจากบ้านเมืองเวลานี้มีกลุ่มคนที่ไม่หวังดีต่อประเทศชาติ ดังนั้น ขณะนี้รัฐสภากำลังทำในสิ่งที่ถูกต้องและเป็นความคาดหวังของประชาชน ส่วนที่กลุ่มพันธมิตรฯ เห็นว่า รัฐสภาไม่ใช่ทางออกนั้น ตนไม่รู้ว่าปัญหาของพันธมิตรฯ คืออะไร แต่ถ้าเป็นปัญหาของประชาชนที่สะท้อนออกมา ส่วนใหญ่รัฐสภาก็แก้ไขได้และเราใช้แนวทางนี้มาตลอด


โพสต์โดย: นางสาวพรรณวิภา ติคำ ID: 5131601135

8 เหตุผลที่จะทำให้กลุ่มพันธมิตรปราชัย

8 ข้อต่อไปนี้ คือเหตุผลที่ทำให้ความนิยมในกลุ่มพันธมิตรเสื่อมลงในเวลาอันรวดเร็ว (ทั้งที่ถูกกระทำและกระทำด้วยตัวเอง)
1. ใช้ความรุนแรงในการต่อสู้ คนทั่วไปเข้าใจได้ว่า การชุมนุมเรียกร้องโดยความสงบเป็นวิถีที่พึงทำได้ แต่แกนนำพันธมิตรประเมินแล้วว่า ถ้ายังคงชุมนุมในรูปแบบเดิม จะทำให้กลุ่มของตนอ่อนแรงไปเรื่อยๆ จึงใช้มาตรการแตกหัก เข้าบุก NBT และทำเนียบ ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่รับไม่ได้ โดยมองว่านี่เป็นการกระทำเกินเลยจากวิถีอหิงสา (อหิงสา : ความไม่เบียดเบียน ,การเว้นจากการทำร้าย)
2. ทำให้ประชาชนเดือดร้อน แกนนำพันธมิตรพึงตระหนักไว้ว่าคนที่มีใจโอนเอียงมาทางกลุ่มพันธมิตร มีไม่เกิน 20%ของคนทั้งประเทศ ขณะที่คนส่วนใหญ่ยังอยู่ตรงกลาง ไม่ชอบรัฐบาล แต่ก็ไม่เห็นด้วยกับการกระทำของพันธมิตรทั้งหมด การปิดถนน การหยุดเดินรถไฟ เท่ากับการผลักประชาชนไปยืนฝั่งตรงกันข้าม
3. การแทรกแซงสื่อ จริงอยู่ว่าการที่รัฐบาลสมัครเข้าไปยึด NBT เพื่อโฆษณาชวนเชื่อให้กับกลุ่มตนเองเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ แต่ก็ใช่ว่าต้องแก้ปัญหาด้วยการไปยึด ไปปิดสถานี ซึ่งไม่ต่างอะไรกับการตั้งศาลเตี้ยตัดสินคดีด้วยตนเอง หนทางที่ถูกต้อง คือให้ข้อมูลที่ถูกต้องกับประชาชน เพื่อให้คนลดความเชื่อถือใน NBT แล้วใช้วิธีการทางรัฐสภาในการจัดการปัญหา ไม่ใช่ไปแทรกแซงเสียเอง
4. การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล ที่ผ่านมากลุ่มพันธมิตรมักจะเรียกร้องให้นำกระบวนยุติธรรมเข้ามาแก้ปัญหาคอรัปชั่น การโกงเลือกตั้ง แต่พอศาลตัดสินให้ฝ่ายตนต้องปฏิบัติตามบ้าง กลับดื้อแพ่ง คนที่ไม่ยึดหลักการ มีสองมาตรฐาน ต่อไปใครจะเชื่อถือ อย่าลืมว่าสถาบันตุลาการยังเป็นสถาบันที่คนไทยให้ความเชื่อถือสูงมาก ใครฝ่าฝืน ย่อมมีภาพลักษณ์เป็นลบในสายตาประชาชน
5. นักวิชาการ สื่อมวลชนเริ่มผละออก การที่กลุ่มพันธมิตรเรียกร้องความสำเร็จเร็วเกินไป จนต้องใช้มาตรการเด็ดขาดเข้าเผด็จศึก ทำให้คนที่เคยแอบให้กำลังใจกลุ่มพันธมิตรเริ่มอึดอัด จนถึงยอมรับไม่ได้ นักวิชาการบางคนเริ่มให้สัมภาษณ์ในเชิงตำหนิ สื่อมวลชนหลายแขนง เริ่มไม่สนับสนุน หรือตั้งคำถามในความถูกต้องของปฏิบัติการที่เกิดขึ้น
6. ภาพลักษณ์แกนนำพันธมิตรแข็งกร้าวเกินไป ทำให้ประชาชนรู้สึกว่า คนเหล่านี้เป็นพวกหัวรุนแรง กระทำสิ่งต่างๆ เพียงเพื่อสนองอารมณ์ตนเอง ไม่ได้คำนึงถึงผลประโยชน์ของชาติเป็นที่ตั้ง ทั้งนี้บางคนในแกนนำมีภาพลักษณ์มีผลประโยชน์ทางธุรกิจแอบแฝง ยิ่งทำให้ภาพพจน์แย่ลงไปอีก
7. รัฐบาลสมัครสร้างภาพสุขุม เป็นผู้ใหญ่ เดิมที นายสมัคร สุนทรเวชเป็นคนที่มีบุคลิกแข็งกร้าว ดุดัน แต่เมื่อประเมินสถาการณ์แล้ว การดึงดันมีแต่จะสร้างภาพลบ ขณะที่การทำตัวเป็นผู้ใหญ่จะได้คะแนนเห็นใจอีกโข จึงเห็นภาพของนายสมัครที่อ่อนละมุน สุขุมจนผิดสังเกตุ
8. รัฐบาลใช้สื่อรัฐเร่งดิสเครดิสกลุ่มพันธมิตร สมัย 6 ตุลา กลุ่มขวาจัดใช้สถานียานเกราะปลุกระดม ทำลายความเชื่อถือที่คนมีต่อศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย(ศนท.) จนคนจำนวนหนึ่งเชื่อว่านักศึกษาเป็นคอมมิวนิสต์ ปัจุบันบัน NBT พยายามใช้ถ้อยคำปลุกเร้าให้คนเชื่อว่ากลุ่มผู้ชุมนุนเป็นพวกหัวรุนแรง พยายามใช้บุคคลที่สังคมให้ความเชื่อถือ ไม่ว่านักวิชาการ พระสงฆ์ ที่ไม่เห็นด้วยกับการใช้ความรุนแรง มาพูดเตือนสติคนที่ชุมนุม ทำให้ผู้ชมโทรทัศน์คล้อยตาม
อย่าลืมว่านายสมัครไม่ใช่มือใหม่ทางการเมือง เขาผ่านร้อนผ่านหนาวทางการเมืองมาไม่ต่ำกว่า 40 ปี ยุทธวิธีที่ใช้ในปัจจุบันจึงไม่ต่างอะไรจากสมัย 6 ตุลาคม พ.ศ.2519 เช่น
1. แบ่งแยกนักวิชาการ สื่อบางส่วน ออกจากกลุ่มพันธมิตร ( ดึงนักศึกษาอาชีวะออกจากศนท.)
2. หลอกให้พันธมิตรไปบุก NBT โดยง่าย และนำอาวุธที่ยึดได้จากทำเนียบมาแสดง (สร้างภาพนักศึกษาเป็นพวกหัวรุนแรง)
3. ใช้ NBT โจมตีกลุ่มพันธมิตรต่อเนื่อง (ใช้ยานเกราะปลุกระดมให้คนเกียดชังนักศึกษา)
4. ใช้หมายศาลสร้างความชอบธรรมในการสลายการชุมนุม (ใช้ภาพคนถูกแขวนคอ สร้างความชอบธรรมในการกวาดล้างนักศึกษา)
การเคลื่อนไหวเรียกร้องใดๆ ถ้ามุ่งบุกไปข้างหน้าโดยไม่ดูว่ามวลชนพร้อมหรือไม่ ตามทันหรือไม่ สุดท้ายก็จะถูกโดดเดี่ยวอย่างที่แกนนำพันธมิตรและพวกพ้องต้องประสบในไม่ช้า หากยังไม่รีบทบทวนยุทธศาสตร์ที่ดำเนินอยู่
ประวัติศาสตร์มักซ้ำรอย แต่น่าแปลก ที่คนส่วนใหญ่มักไม่ค่อยยอมเรียนรู้จากประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะคนบางคนที่เชื่อมั่นในตนเองสุดๆ ซึ่งนำการชุมนุมอยู่แถวทำเนียบในเวลานี้




โพสต์โดย: นางสาวภัทราสิยากร ณ นคร ID: 5131601005




เนวิน ฟื้น นปก.ปะทะ พันธมิตร

กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ (นปก.) ได้เคลื่อนไหวต่อต้านกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย โดยเปิดเวทีปราศรัยที่ท้องสนามหลวง บริเวณหน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีผู้เข้าร่วมหลายพันคน ส่วนใหญ่ใส่เสื้อสีแดง หรือมีผ้าพันคอสีแดงเป็นสัญลักษณ์ นายชินวัฒน์ หาบุญพาด แกนนำ นปก. กล่าวว่า จุดประสงค์ของการชุมนุมครั้งนี้มี 3 ประการ คือ 1.สนับสนุนรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง 2.ให้มีการบังคับใช้กฎหมายกับกลุ่มพันธมิตร 3.เป็นการประกาศว่า ประชาชนไม่ได้เห็นด้วยกับกลุ่มพันธมิตรทั้งหมด "กลุ่มเพื่อนเนวิน" ทั้ง 4 คน ประกอบด้วย นายทรงศักดิ์ ทองศรี นายสุพล ฟองงาม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นายธีระชัย แสนแก้ว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายพงศกร อรรณนพพร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
นายจตุพร พรหมพันธ์ ส.ส.สัดส่วน และนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อดีตแกนนำ นปก. นั่งหารือถึงสถานการณ์ทางการเมืองที่อยู่ในภาวะวิกฤต และหารือถึงการจัดระบบการเคลื่อนมวลชนมาให้กำลังใจนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และพรรคพลังประชาชน ให้อยู่ทำหน้าที่ต่อไป รวมตั้งต่อต้านกลุ่มพันธมิตรที่ชุมนุมยึดทำเนียบรัฐบาล โดยได้แจ้งให้แกนนำ นปก. รวมทั้ง ส.ส.พรรคพลังประชาชน บางส่วนเตรียมความพร้อมไว้ ขณะนี้แกนนำ นปก.ได้หารือและมีความคิดเห็นไปในทางเดียวกันว่าการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรวันนี้เลยเถิดไปมากแล้ว เพราะกระทำตนเป็นพวกอนารยะขัดศาล ไม่สนใจกฎหมาย ที่ผ่านมาประชาชนผู้ไม่เห็นด้วยกับการกระทำของกลุ่มพันธมิตรไม่ออกมาเคลื่อนไหวเพราะเกรงว่าประเทศจะวุ่นวาย แต่วันนี้ไม่ได้แล้ว เมื่อกระบวนการยุติธรรมถูกละเลย และรัฐบาลไม่สามารถนำคำวินิจฉัยของศาลให้เป็นไปตามกฎหมายได้ นปก.อาจจะต้องออกเคลื่อนไหวเร็วกว่าเวลาที่สมควร ขณะนี้กลุ่มผู้ขับแท็กซี่ได้เริ่มก่อกองไฟความไม่พอใจกลุ่มพันธมิตรไว้ที่สนามหลวงบางส่วนแล้ว เชื่อว่าต่อไปประชาชนที่ไม่พอใจกลุ่มพันธมิตรจะออกมาร่วมแบบมืดฟ้ามัวดิน
นปก.จะชุมนุมแบบอสิงหาของจริง ยืนยันว่าจะไม่เคลื่อนไปเผชิญหน้ากับกลุ่มพันธมิตร ส่วนการชุมนุมจะยืดเยื้อแค่ไหนขึ้นอยู่กับเจ้าหน้าที่ตำรวจและการบังคับใช้กฎหมาย ตราบใดที่กลุ่มพันธมิตรยังปักหลักชุมนุมอยู่ในทำเนียบรัฐบาล นปก.จะชุมนุมยืดเยื้อต่อไป ขณะนี้ได้ติดต่อกับแกนนำในต่างจังหวัดแล้ว เพื่อนำมวลชนมาสมทบที่ กทม. ซึ่งน่าจะมาสมทบภายใน 1-2 วันนี้




โพสต์โดย: นางสาวภัทราสิยากร ณ นคร ID: 5131601005




สมัคร บอกไม่มีเหตุผลต้องกลัวสื่อ

พันธมิตรฯ 82 คนที่ถูกขัง เป็นตัวอย่างของการดำเนินการกับผู้กระทำผิดกฎหมาย ยืนยันวานนี้ ไม่เคยนัดหมายจะแถลงข่าวกับสื่อ หลังการเข้าเฝ้าฯ และ ไม่ได้มีกำหนดจะไปร่วมประชุมกับพรรคร่วมรัฐบาล เมื่อกลางดึกนี้ จึงไม่มีเหตุผลที่จะต้องเกรงกลัวสื่อมวลชน ยกตัวอย่าง หัวข้อโต้วาทีในอดีตเรื่องความกลัวทำให้เสื่อม มาเทียบกับเหตุการณ์ปัจจุบัน โดยตำหนิฝ่ายรักษาความปลอดภัย สนามบินจังหวัดภูเก็ต ที่ไม่สามารถรักษาสถานที่จากกลุ่มบุคคลที่ปราศจากอาวุธได้และยิ่งรู้สึกเจ็บช้ำ กับสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ ที่ออกมาร่วมกับพันธมิตรฯ ทำให้ประชาชนเดือดร้อน ยังไม่เคยขอความช่วยเหลือจากทหาร เพื่อจัดการกับกลุ่มผู้ชุมนุมพันธมิตรฯแต่อย่างใด
โพสต์โดย: นางสาวชาลินี เอี่ยมโอน ID: 5131601043

ตำรวจยิงแก๊สน้ำตาใส่พันธมิตร

กองบัญชาการตำรวจนครบาลได้เกิดเสียงดังคล้ายระเบิด 7-8ครั้ง และมี ควันทำให้แสบตาทำให้ผู้ชุมนุมตกใจและวิ่งหนีกระเจิง เสียงดังจากภายนอกแต่ไม่แน่ใจว่า มาจากทิศทางใด ยังมีรถของตำรวจเสียหายหลายคัน กลุ่มผู้ชุมนุม ตีกระจก ตีรถ ที่จอดด้านข้าง บชน.แตก สถานการณ์ชุลมุน พอสมควร ผู้ชุมนุมวิ่งไปถึงลานพระรูปทรงม้า ทำให้มีแกนนำพันธมิตร บางคนใช้ เครื่องขยายเสียง เรียกให้มารวมตัวกันที่บชน.กดดันตำรวจที่อยู่ด้านใน ระเบิดดังกล่าวเป็นระเบิดแก๊สน้ำตา ทำให้แสบจมูก และแสบคอ
ศาลแพ่งสั่งงดบังคับคดีการปฏิบัติตามคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว โดยให้พันธมิตรอยู่ทำเนียบได้ต่อจนกว่าศาลอุทธรณ์จะมีคำสั่งพิพากษาคดี ศาลแพ่งได้ไต่สวนนายสุวัฒน์ อภัยภักดิ์ ทนายควสามพันธมิตรฯ จำเลย ที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเป็นโจทก์ยื่นฟ้องเรื่องละเมิดขับไล่ออกจากทำเนียบรัฐบาลแล้วเห็นว่า เมื่อศาลมีคำสั่งบังคับคดีเพื่อให้มีการปฏิบัติตามคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวแล้ว ได้มีการบังคับคดีโดยไม่ถูกต้อง ขณะที่ศาลแพ่งได้มีคำสั่งรับคำอุทธรณ์ คัดค้านคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวและคำขอทุเลาการบังคับคดีของพันธมิตรฯ จำเลยทั้ง 6 แล้ว ดังนั้นหากให้การบังคับคดียังมีผลต่อไป เกรงว่าจะเกิดความเสียหาย จึงมีคำสั่งให้งดการบังคับคดี ตามคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวดังกล่าว
________________________________________________________________________________
"สมัคร"ลั่นจะอดกลั้น ไม่ถอย จะอยู่ตรงนี้ทนได้ แม้ว่าจะมีอำนาจในมือ แต่ก็จะไม่ไปทำร้ายให้ใครเสียหาย ระบุยังไม่ใช้พระราชกำหนดฉุกเฉิน เพราะไม่อยากให้เสียบรรยากาศจะอดกลั้นให้ถึงพรุ่งนี้ จะรักษาบ้านเมืองให้ถึงพรุ่งนี้ เพราะพรุ่งนี้จะมีงานใหญ่ ที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ จะทรงเสด็จมามอบธง ในงาน 116 วัน จากวันแม่ถึงวันพ่อ
________________________________________________________________________________
"แจ่มศรี สุกโชติรัตน์" ประธานสหภาพฯการบินไทยประกาศให้สมาชิก 15,000 คน ลาหยุด แพทย์ พยาบาล รพ.สระบุรี ลงชื่อต้านสมัครไม่ให้ทำร้ายประชาชน พนักงานรถไฟลาหยุด 240 คนหยุดวิ่ง 35 ขบวน
________________________________________________________________________________
กลุ่มนักวิชาการ ม.ขอนแก่น ออกแถลงการณ์ประณามเจ้าหน้าที่รัฐใช้ความรุนแรงสลายกลุ่มผู้ชุมนุม พร้อมขู่ใช้วิธีอารยะขัดขืนทางเศรษฐกิจ รณรงค์ให้บุคลากร-นักศึกษาถอนเงินออกจากธนาคารทุกแห่ง หวังบีบรัฐยุติใช้ความรุนแรงกับกลุ่มผู้ชุมนุม"จากสถานการณ์ดังกล่าวที่เกิดขึ้น กลุ่มนักวิชาการเพื่อประชาธิปไตย ม.ขอนแก่น และเครือข่ายนักวิชาการภาคอีสาน มีความรู้สึกเป็นห่วงและกังวลเป็นอย่างยิ่งต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะบานปลายออกไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ดังนั้น เพื่อยุติปัญหาและความขัดแย้งในครั้งนี้ จึงขอให้มีการเจรจาเพื่อจัดตั้งรัฐบาลที่เป็นที่ยอมรับของประชาชนทุกฝ่าย เพื่อนำสังคมไทยไปสู่ความสงบสุขและเรียบร้อย"
________________________________________________________________________________
ผบ.ทบ. ห่วงสถานการณ์ความรุนแรง ยืนยันทหารไม่ปฏิวัติ เพราะไม่ใช่ไม่อะไร แนะพันธมิตร-รัฐหันหน้าคุยกันใน การประชุมสภากลาโหมไม่มีการพูดคุยถึงสถานการณ์การชุมนุม หรือการแก้ไขปัญหาการชุมนุมในวันนี้ แต่โดยส่วนตัวเป็นห่วงสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เพราะไม่ต้องการเห็นความรุนแรง โดยเฉพาะความรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้นกับประชาชนที่ไม่มีอาวุธ ทั้งนี้ในส่วนของทหารจะไม่มีการปฏิวัติรัฐประหารแน่นอน เพราะไม่ใช่แนวทางแก้ไขปัญหา ส่วนการใช้ พ.ร.ก.บริหารราชการฉุกเฉิน ขณะนี้สถานการณ์ยังไม่ถึงขั้นนั้น ส่วนการพิจารณานำมาใช้ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของรัฐบาล ซึ่งรวมถึงการขอกำลังทหารเข้าแก้ไขสถานการณ์การชุมนุมด้วย นอกจากนี้เชื่อมั่นว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจยังสามารถดูแลสถานการณ์การชุมนุมได้ เพราะมีกำลังที่เพียงพอ และมีความเหมาะสมในการเข้าแก้ไขสถานการณ์________________________________________________________________________________
พนักงาน NBT ปิดสถานีกลับบ้านหนีม็อบขู่บุกยึดอีกรอบ ก่อนที่กลุ่มพันธมิตรจะเดินทางนับพันคนไปถึงกลุ่มพันธมิตร นัดไปรวมตัวกันเพื่อเดินขบวนไปที่สถานีโทรทัศน์เอ็บบีที ถนนวิภาวดีรังสิต พนักงานสถานีโทรทัศน์เอ็นบีทีได้เดินทางออกจากสถานีทางประตูด้านหลังแล้ว และหยุดรายงานข่าวชั่วคราว และนำเทป บันทึกการแสดงดนตรีออกอากาศแทน กลุ่มพันธมิตรฯนับพันคน ได้เดินทางไปชุมนุมที่หน้าสถานีโทรทัศน์ NBT หลังมีกระแสข่าวว่ารัฐบาลได้สั่งให้สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย หรือ สวท. คลื่น FM 92.50 ซึ่งเป็นสถานีแม่ข่าย สวท.ทั่วประเทศ ให้รับสัญญาณการถ่ายทอด ของสถานีโทรทัศน์ NBT




โพสต์โดย: นางสาวพรรณวิภา ติคำ ID: 5131601135

ใครทำร้ายบ้านเมืองกันแน่?

90 วันของการชุมนุมอย่างอหิงสาของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ดูเหมือนจะเพลี่ยงพล้ำเอาดื้อๆ กับยุทธการเป่านกหวีดส่ง "ทัพดาวกระจาย" ฮือปิดล้อม และเข้ายึดส่วนราชการสำคัญๆ เมื่อใกล้รุ่งสางของวันที่ 26 ส.ค.ที่ผ่านมา ทั้งสถานีโทรทัศน์ NBT กระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม และทำเนียบรัฐบาล หากปรากฏการณ์ข้างต้น กระทำโดย "ทหาร" นั่นคือการทำ "รัฐประหาร" แต่เมื่อดำเนินการภายใต้กลุ่มพันธมิตรฯ ก็เข้าข่าย เป็นการบุกรุกของกลุ่มผู้ชุมนุม ฉะนั้น บรรยากาศที่ผู้ชุมนุมกระจัดกระจายไปตามสถานที่สำคัญๆ เพื่อสร้างความวุ่นวาย จึงทำให้ความน่ากลัว "อ่อนด้อย" ลงไป
ขณะที่ความพยายามของแกนนำพันธมิตรฯ ที่วางยุทธศาสตร์เดินตามรอยการรัฐประหาร เพียงแต่เปลี่ยนจากทหารเป็นประชาชนเสื้อเหลืองทั้งชายและหญิง ซึ่งเป็นทั้งแม่ยกและแฟนพันธุ์แท้ของกลุ่มพันธมิตรฯ ก็ไม่รัดกุมนัก จึงทำให้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แทนที่พันธมิตรฯ จะได้รับดอกไม้ กลับกลายเป็นได้ก้อนอิฐทันที เมื่อประชาชนทั่วไปรู้สึก "ไม่ปลื้ม" เมื่อได้รับผลกระทบ ทำให้การจราจรในกรุงเทพฯ ติดขัดอย่างหนัก นอกจากนี้ ภาพการบุกเข้ายึดสถานที่สำคัญๆ ยังทำให้เกิดกระแสความไม่พอใจ เพราะเป็นการกระทำที่ "เกินไป" ขณะเดียวกัน ก็ยังทำให้บรรดานักธุรกิจสาขาต่างๆ ออกมาวิพากษ์วิจารณ์กันมาก โดยเห็นว่าการกระทำของพันธมิตรทำให้ภาพพจน์ประเทศไทยจะย่ำแย่ในสายตานักลงทุนต่างชาติ ซึ่งปัจจุบัน ความเชื่อมั่นภายใต้การนำของรัฐบาลชุดนี้ ก็ย่ำแย่ต่อเนื่องมาตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ประหาร 19 ก.ย.2549 มากระทั่งวันนี้ พยายามถามไถ่ตลอด คนในรัฐบาลว่า เมื่อเกิดเหตุอย่างนี้ขึ้น รัฐบาลจะทำอย่างไร ทุกคนตอบเป็นเสียงเดียวกัน ไม่มีอะไร ใจเย็นๆ มีวิธีจัดการ ยืนยันว่าจะไม่ใช้ความรุนแรง เรามีวิธีจัดการกับคนพวกนี้ ประชาชนไม่เกี่ยว แถมยังบอกด้วยซ้ำว่า มันเป็นการ "เล่นหมากรุก ใครเดินได้ดีกว่ากัน" นั่นหมายถึงว่า กระบวนการวางเกมของฝ่ายรัฐบาล ได้ทำมาอย่างต่อเนื่อง โดยวางหมากไว้ทุกจุด ปล่อยฝั่งตรงข้ามเดินเข้าหาเอง หลังจากที่ได้รับรู้ความเคลื่อนไหวมานับเดือน หรือเรียกได้ว่า เป็นการ "ขุดบ่อล่อปลา" นั่นเอง ในที่สุด เหตุการณ์ 26 ส.ค.2551 ก็เกิดขึ้น เกมขุดบ่อล่อปลาอย่างนี้ มี "มือที่มองไม่เห็น" คอยบัญชาการ จัดฉาก วางหมากอยู่เบื้องหลังตลอด 24 ชั่วโมง ก่อน "เป่านกหวีด" รับมือ ถือเป็นเกมที่มือที่มองไม่เห็น มีความถนัดและชำนาญวิธีการอย่างนี้ ยุทธการนี้ จะใช้ภาพที่ปรากฏให้สังคมเป็นผู้ตัดสิน สำหรับรัฐบาลนายกฯ สมัคร สุนทรเวช ก็ได้แจ้งต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชัดเจนว่า "ให้ทุกคนอดทนหน่อย ผมไม่หนีไปไหน" บนสถานการณ์ที่สมประโยชน์ของทุกฝ่ายอย่างที่เห็นๆ ไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ ทหาร และที่สำคัญยิ่งคือ "เมกะโปรเจค" รายกระทรวง ที่ลงตัวแล้ว จึงทำให้แรงกระเพื่อมของกลุ่มที่คิดจะตีจากรัฐบาลไปสมคบกลุ่มพันธมิตรลดลง แถมมีเสียงตะโกนจากพรรคร่วมสนั่นว่า ไม่คิดตีจากรัฐบาล เอาล่ะ...จะเกิดอะไรขึ้น คงต้องว่าไปตามกระบวนการกฎหมาย ใครผิด ใครถูกว่ากันไป วันนี้ ประชาชนคนไทยบอบช้ำมามากแล้ว กับการแย่งชิงอำนาจของกลุ่มคนที่ไม่รู้จักพอ เกมวันนี้ คงไม่มีใครชนะใคร มันเป็นเพียงแค่ความสะใจของคนบางกลุ่ม บนเกมแย่งชิงอำนาจแค่นั้น ขออย่างเดียวอย่าทำลายชาติบ้านเมืองมากกว่านี้


โพสต์โดย: นางสาวชาลินี เอี่ยมโอน ID: 5131601043

วันเสาร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2551

สมัคร ออก แล้วจะเอาใคร?

ขอชี้แจง ผ่านสื่อไปยังประชาชนทั่วประเทศเพื่อให้ช่วยไตร่ตรองใน การที่จะเข้ามาร่วมชุมนุมกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยพร้อมขอความกรุณาอย่าตกเป็นเครื่องมือเพราะจะทำให้บ้านเมืองเกิด ความ เสียหายและไม่เกิดประโยชน์โดยขอให้ประชาชนอยู่กับรัฐบาลจนถึงวันพรุ่งนี้ ซึ่งจะเป็นการพิสูจน์ถึงความรักความผูกพันของประชาชนมีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์รวมถึงขอพึ่งบารมีที่จะมีรับสั่งให้เกิดผลสำเร็จ "ทำแล้วได้ประโยชน์อะไรกับประเทศชาติต้องการให้บ้านเมืองพังไป ต่อหน้าต่อตาเช่นนั้นหรือไม่หรือไม่ใช่คนไทย เอาผมไปแล้วจะเอาใครให้ใครมาเป็นรัฐบาล จุดนี้อยู่ตรงไหน ผมไปทำอะไรให้ บอกว่าตั้งนอมินีก็พิสูจน์แล้วว่าคนละชื่อคนละรัฐบาลใช้สูตร 30-70 ใช้หลักเกณฑ์อะไรมาตั้งรัฐบาล"หากกลุ่มพันธมิตรฯจะยังปักหลักยึดทำเนียบรัฐบาลต่อไป คณะรัฐมนตรีก็ยังสามารถทำงานได้ และเห็นว่าหมายจับยังมีอายุความถึง10 ปี




โพสต์โดย: นางสาวภัทราสิยากร ณ นคร ID: 5131601005




มติพันธมิตรฯ ขีดเส้นดำเนินคดีคนสั่งทุบ ปชช.

หลังจากมีภาพข่าวหลุดออกมาให้เห็นว่า มีตำรวจนายหนึ่งทำร้ายกลุ่มผู้ชุมนุมพันธมิตรฯ โดยการตีที่ศรีษะอย่างรุนแรงด้วยกระบองนั้น วันนี้ (29 ส.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อเวลา 16.00 น. นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ระบุว่า มติของแกนนำพันธมิตรฯ ทั้ง 5 คน อันประกอบด้วย พล.ต.จำลอง ศรีเมือง นายสนธิ ลิ้มทองกุล นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ นายพิภพ ธงไชย และนายสมศักดิ์ โกศัยสุข ได้มีมติเรียกร้องให้ดำเนินคดีเจ้าหน้าที่ที่ทุบตีประชาชนมาให้ภายในเวลา 19.00 น.ไม่เช่นนั้นจะมีเรื่องอย่างแน่นอน และให้ดำเนินคดีต่อนายตำรวจที่สั่งการด้วย ผู้สื่อข่าวรายงานว่า แกนนำพันธมิตรฯ ได้สั่งให้มีการตั้งขบวนเพื่อไปล้อมกดดันตำรวจ ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ รวมทั้งได้รวมตัวกันไปกดดันให้กำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ซุ่มอยู่ที่สนามม้านางเลิ้ง เพื่อเตรียมเข้าปราบปรามประชาชนในทำเนียบรัฐบาล ให้ถอนกำลังออกไปทันที ทั้งนี้ เมื่อเวลา 16.35 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พันธมิตรฯ กว่า 1 พันคน นำโดยนายศิริชัย ไม้งาม แกนนำสหภาพแรงงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พร้อมด้วย สรส.จำนวนหนึ่ง ได้เข้ายึดในบริเวณสนามม้านางเลิ้งได้แล้ว พร้อมกับประกาศย้ำให้ส่งตัวคนที่ตีประชาชนออกมา ทั้งนี้ นายสนธิ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า นายตำรวจที่เป็นคนสั่งการทราบจากข้อมูลเบื้องต้นมีชื่อว่า พล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโณ รองผู้บังคับการตำรวจนครบาล 1 เป็นผู้ควบคุมการสลายกรชุมนุมของประชาชนที่สะพานมัฆวานฯและทำเนียบรัฐบาล และยังกล่าวอีกว่า ในช่วงที่ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีได้ร่วมประชุมกับผู้บัญชาการเหล่าทัพที่กองบัญชาการกองทัพไทยมี พล.ต.อ.อชิรวิทย์ สุพรรณเภสัช อดีตรองผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และนายตำรวจที่ใกล้ชิดของ พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ รองนายกฯและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นคนรับอาสาในการสลายการชุมนุมในครั้งนี้ พร้อมกันนี้ นายสนธิ ยังได้แสดงบัตรประจำตัวของนายตำรวจจำนวน 2 ใบ ระหว่างช่วงชุลมุนที่มีการสลายการชุมนุมที่เวทีสะพานมัฆวานฯ ในตอนเช้าวันนี้



โพสต์โดย: นางสาวพรรณวิภา ติคำ ID: 5131601135

คนวิพากษ์พันธมิตร ไม่ได้แปลว่าอยู่ข้างสมัคร


พาดหัวหนังสือพิมพ์เมื่อวานว่า "โพลล์ไม่เห็นด้วยกับพันธมิตร แต่ให้เปลี่ยนรัฐบาล" นั้นสะท้อนถึงความเป็นจริงแห่งสังคมวันนี้ไม่น้อยเลย
ขณะที่เขียนอยู่นี้ ยังไม่มีการจับแกนนำทั้ง 9 ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และตำรวจยังไม่เข้าไปสลายการชุมนุมที่สนามในทำเนียบรัฐบาล... ต่างฝ่ายต่างคุมเชิงกันอยู่ เพราะไม่มีใครต้องการถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ริเริ่มให้เกิดการนองเลือด การ "จบให้สวย" จึงเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนอย่างยิ่ง เพราะคำนิยามของคำว่า "สวย" นั้นแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงระหว่างฝ่าย นายกฯ สมัคร สุนทรเวช กับ แกนนำพันธมิตร แต่ถ้าดูจาก "กรุงเทพโพลล์" ของศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ที่เผยแพร่เมื่อวันพุธโดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขต กทม. จำนวน 1,023 คน เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม ที่ผ่านมาปรากฏว่า
ร้อยละ 72.6 ไม่เห็นด้วยการกับปิดถนนเพื่อชุมนุมขับไล่รัฐบาลและเห็นด้วย 13.8% กรณีบุกเข้ายึดสถานีโทรทัศน์เอ็นบีที นั้น ไม่เห็นด้วยร้อยละ 70.8 เห็นด้วย 14.8% การปิดล้อมทำเนียบ กระทรวงและสถานที่ราชการ ไม่เห็นด้วย 68.9 เปอร์เซ็นต์ และเห็นด้วย 16.9 เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เห็นว่าควรจะมีปรับเปลี่ยนรัฐบาล 65.1 เปอร์เซ็นต์ และให้อยู่บริหารต่อไปร้อยละ 34.9 ประชาชนที่ไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับการประท้วง แต่ติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิดนั้นย่อมจะประเมินได้ว่ารัฐบาลกับพันธมิตร มีปัญหาของตัวเองอย่างไรบ้าง และท้ายที่สุด แม้ว่าจะไม่มีคำถามนี้อยู่ในแบบสอบถามของ "กรุงเทพโพลล์" ก็น่าจะเชื่อได้ว่าคนไทยส่วนใหญ่นั้นรู้ดีว่าสาเหตุใหญ่แห่งปัญหาของความขัดแย้งที่ยืดเยื้อและทำท่าจะเกิดความรุนแรงทุกวันนี้ก็เพราะคนคนเดียวที่ชื่อ ทักษิณ ชินวัตร
ดังนั้น คนไทยไม่น้อย ทั้งที่ตอบแบบสอบถามและไม่อยู่ในข่ายการแสดงความเห็น ก็คงจะเห็นว่าการเปิดเผยข้อมูลต่างๆ ของฝ่ายพันธมิตรเกี่ยวกับความเสียหายที่ทักษิณ และรัฐบาลก่อนได้กระทำเอาไว้ ต่อเนื่องมาถึงรัฐบาล "นอมินี" ของสมัคร สุนทรเวช นั้น มีน้ำหนักที่น่าเชื่อถือได้ แน่นอนว่าตราบเท่าที่พันธมิตร รักษาคำมั่นสัญญาว่าจะดำเนินกิจกรรมประท้วงอย่างสันติปราศจากอาวุธ คนไทยไม่น้อยก็พร้อมจะยืนอยู่ข้างนั้น เพราะเห็นพ้องว่าการเมืองภาคประชาชนจะต้องมีบทบาทที่สำคัญยิ่งยวด แต่เมื่อการเคลื่อนทัพของพันธมิตร เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม ไปเกี่ยวกับการเข้ายึด NBT ที่เป็นการใช้กำลังข่มขู่และคุกคามคนทำสื่อ ความรู้สึกของคนไทยจำนวนมากก็รู้สึก "รับไม่ได้" ขึ้นมาอย่างฉับพลัน แน่นอนว่าความไม่เห็นด้วยกับ "วิธีการ" ของพันธมิตรในกรณีนี้ไม่ได้หมายความว่าประชาชนคนไทยที่เฝ้าติดตามสถานการณ์บ้านเมืองอย่างใกล้ชิดจะเอนเอียงเข้าข้างคุณทักษิณ และ คุณสมัคร โดยอัตโนมัติ เพราะปัญหาที่ทั้งสองคนได้สร้างไว้กับบ้านเมืองยังมองไม่เห็นทางออก เรื่องอื้อฉาวที่รัฐบาลชุดนี้ได้กระทำที่ส่อไปในทางปกป้องผลประโยชน์ของทักษิณ และพยายามจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ตัวเองรอดพ้นจากกติกาของบ้านเมือง อีกทั้งการแต่งตั้งข้าราชการต่างๆ ที่เห็นได้ชัดว่าเป็นการเอื้อประโยชน์ทางการเมืองของผู้มีอำนาจโดยไม่สนใจว่าผู้ถูกแต่งตั้งมีประวัติที่น่าเคลือบแคลงอย่างไร... ต่างๆ เหล่านี้ ล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้คนไทยเห็นว่ารัฐบาลสมัครไร้ความสามารถและความน่าเชื่อถือในฐานะเป็นตัวแทนของประชาชนที่จะปกครองประเทศต่อไป และหากเกิดการนองเลือด ไม่ว่าจะเป็นฝีมือของฝ่ายใด ทั้งพันธมิตรและฝ่ายรัฐบาล ก็จะโดนประชาชนประณามเช่นกัน
เพราะวันนี้คนไทยไม่ต้องการให้พันธมิตร จะ "ล้ำเส้น" และขณะเดียวกันก็เห็นว่าจะต้องเกิดความเปลี่ยนแปลงรัฐบาล นี่คือสองด้านของเหรียญแห่งอารมณ์ของความตึงเครียดในหัวใจคนไทยวันนี้




โพสต์โดย: นางสาวชาลินี เอี่ยมโอน ID: 5131601043

หากมีรัฐบาลใหม่ นปก.จะยึดทำเนียบรัฐบาล

นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข แกนนำ นปก.คาดว่าจะมีประชาชนมาร่วมชุมนุมด้วยประมาณ 5,000 คน จากทั้งภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคใต้ ซึ่งอยู่ระหว่างการเดินทางเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ปัญหากรณีกลุ่มพันธมิตรฯ ได้ใช้กฎหมู่เหนือกฎหมายและอยากเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีอย่าลาออก เพราะจะทำให้อำนาจอนาธิปไตยเป็นใหญ่ กลุ่ม นปก.จะไม่ชุมนุมใกล้กับพื้นที่การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรอย่างเด็ดขาด เพื่อหลีกเลี่ยงการปะทะกัน และในวันนี้เมื่อบรรลุเป้าหมายการชุมนุมแล้วจะไปปักหลักชุมนุมต่อที่ท้องสนามหลวง การชุมนุมของกลุ่ม นปก.ที่ท้องสนามหลวงขณะนี้ได้มีกลุ่มผู้ชุมนุมที่สนับสนุนรัฐบาล และนายกรัฐมนตรีมารวมตัวกันบริเวณรอบ ๆ เวทีประมาณเกือบ 100 คน เพื่อจะเดินทางไปสมทบกับกลุ่ม นปก.เดิมที่ได้ไปเตรียมให้กำลังใจรัฐบาลที่รัฐสภาโดยมีการใส่เสื้อสีแดงหรือผูกผ้าสีแดงเพื่อแสดงตน




โพสต์โดย: นางสาวภัทราสิยากร ณ นคร ID: 5131601005