คนรุ่นหลังที่เกิดไม่ทันยุค 6 ตุลาคม 2519 คงจะได้รับรู้ฤทธิ์เดชและ "ธาตุแท้" ของนายสมัคร สุนทรเวช ได้อย่างไม่ต้องสรรหาคำอธิบาย เพราะคำพูด พฤติกรรม และการแสดงออกของนายสมัครใน พ.ศ. 2551 ที่มาในคราบของนายกฯ "นอมินี" ให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ล้วนพรรณนาความเป็นนายสมัครได้อย่างดี
เป็นเรื่องที่บอกไม่ถูก เมื่อนายสมัครยกตนกล่าวอ้างอาสาเป็นผู้พิทักษ์ประชาธิปไตย ทั้งที่นายสมัครไม่เคยมีประวัติจารึกว่าเป็นผู้รักประชาธิปไตย ตรงกันข้ามกับถูกจารึกในทิศทางกลับกัน คือเป็นผู้นิยมใช้อำนาจและความรุนแรง เมื่อความเข้าใจเรื่องประชาธิปไตยของนายสมัครมีอย่างกะพร่องกะแพร่ง ดังนั้น จึงไม่แปลกที่นายสมัครยืนยันจะไม่ยุบสภา จะไม่ลาออก โดยอ้างว่าต้องการรักษาประชาธิปไตย โดยในความรู้สึกของนายสมัครเห็นว่าการยอมแพ้ต่อการประท้วงของประชาชน (ซึ่งเป็นการแสดงออกตามหลักประชาธิปไตย) คือการเสียหลักการประชาธิปไตย ทั้งที่หลายประเทศผู้นำก็ลาออกเพราะการประท้วงของประชาชนมาแล้ว และนั่นก็คือหนทางที่คนในชาติและนานาชาติยกย่องว่าคือ "สปิริต" ประชาธิปไตย และเป็นวิถีทางที่เกือบจะเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของประเทศประชาธิปไตยที่ไม่ได้เข้าใจประชาธิปไตยแค่เปลือก วิธีรักษาประชาธิปไตยของนายสมัครแทนที่จะยุบสภาหรือลาออกคืนอำนาจให้ประชาชน จึงกลับกลายเป็นว่าประกาศบังคับใช้พระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อให้ผู้บัญชาการทหารบกสลายการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย แต่เมื่อผู้บัญชาการทหารบก (ซึ่งปกติทหารมักถูกมองว่านิยมใช้ความรุนแรง) ปฏิเสธอย่างมีชั้นเชิงและสอนมวยไปในตัวว่า จะไม่ใช้กำลังปราบผู้ชุมนุมแต่จะใช้วิธีการเจรจาแทน และย้ำว่าการเมืองต้องแก้ด้วยการเมืองคือยกให้เป็นเรื่องของรัฐสภาหรือสภาผู้แทนราษฎร ก็กลับปรากฏว่านายสมัครและคนในพรรคพลังประชาชนไม่พอใจ ที่ผู้บัญชาการทหารบกไม่ยอมใช้ความรุนแรง เมื่อถูกผู้บัญชาการทหารบกตบหน้า แต่นายสมัครก็ยังไม่รู้สึกอะไรอีก ไม่รู้สึกด้วยว่าคำสั่งของตนนั้นไม่มีใครยินดีปฏิบัติตาม ไร้ความศักดิ์สิทธิ์ สะท้อนให้เห็นว่าภาวะผู้นำของนายสมัครล้มละลาย ไม่มีผู้ใต้บังคับบัญชาให้เกียรติอีกต่อไปแล้ว หากเป็นประเทศอื่นเขาคงลาออกไปแล้ว เพราะขืนอยู่ต่อไปก็เหมือนเป็ดง่อย แต่นายสมัครกลับ "หนา" เกินคาด ด้วยการรวบอำนาจการสั่งการและการบังคับใช้กฎหมาย 20 ฉบับ ที่เกี่ยวกับความมั่นคงและการเคลื่อนกำลังพลมารวมไว้ที่ตนเองคนเดียว ลักษณะเช่นนี้ ชวนให้คิดว่า พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. ควรสลับตำแหน่งกับนายสมัคร จะดีและเหมาะสมกว่า เพราะมีอย่างที่ไหนที่ทหารกลับเป็นฝ่ายไม่ชอบใช้ความรุนแรง พูดจานิ่มนวล อดทนสูง ไม่เติมเชื้อไฟให้สังคมที่มีความขัดแย้งทางการเมืองสูงอยู่แล้ว ผิดกันอย่างลิบลับกับนายสมัครที่อยู่ในอาการดิ้นพล่าน พาลพาโลกับทุกคน พูดอะไรออกมาแต่ละครั้งล้วนหาเหตุผลให้สอดคล้องรองรับการกระทำและคำพูดของตัวเองได้ยากเหลือเกิน จนไม่อยากเชื่อว่าคนคนนี้มีตำแหน่งเป็นถึงนายกรัฐมนตรี ดูแล้วทั้งหน้าตาและคำพูดไม่เป็นเกียรติเป็นศรีแก่ประเทศเอาเสียเลย หลายคนบ่นว่ารู้สึกอายที่มีผู้นำประเทศแบบนี้ เมื่อมีปัญหาการเมืองเกิดขึ้นนายสมัครและคนพรรคพลังประชาชน (ที่อ้างว่าอยากรักษาประชาธิปไตย) กลับไม่ใช้หนทางประชาธิปไตยและกลไกรัฐสภาในการแก้ปัญหา แต่ใช้วิธีเตะลูกออกนอกสภา ไปให้ทหารแก้ไข ทั้งที่ช่วงเกิดรัฐประหาร 19 กันยายน พรรคพลังประชาชนหรือคนไทยรักไทยเดิม เรียงหน้าสลอนออกมาถล่มทหารที่ใช้อำนาจเผด็จการเข้าแทรกแซงการเมือง หาว่ามาจุ้นจ้านการเมือง แต่คราวนี้กลับอยากเห็นทหารใช้อำนาจจัดการม็อบตามคำสั่งใน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ส่วนพรรคร่วมรัฐบาลเองก็มีส่วนสำคัญทำให้การเมืองวิกฤตอย่างถึงขีดสุด เพราะไม่มีพรรคใดยอมถอนตัวหรือเลิกเป็นเสาค้ำยันให้นายสมัคร ทั้งที่พรรคร่วมรัฐบาลมองเห็นแล้วว่าสถานการณ์บ้านเมืองอยู่ในสภาพใด ซึ่งเหตุที่พรรคร่วมรัฐบาลไม่ยอมถอนก็คงเป็นไปตามที่มีการคาดหมายกันนั่นเองคือพวกนี้กำลัง "ไกล่เกลี่ย" ผลประโยชน์เรื่องงบประมาณกัน นี่คือวงจรอุบาทว์ของการเมืองไทยอย่างแท้จริง วงจรอุบาทว์ที่เกิดจาก "สันดาน" อันไม่เคยเปลี่ยนไปในทางที่เจริญขึ้นของนักการเมืองส่วนใหญ่
เป็นเรื่องที่บอกไม่ถูก เมื่อนายสมัครยกตนกล่าวอ้างอาสาเป็นผู้พิทักษ์ประชาธิปไตย ทั้งที่นายสมัครไม่เคยมีประวัติจารึกว่าเป็นผู้รักประชาธิปไตย ตรงกันข้ามกับถูกจารึกในทิศทางกลับกัน คือเป็นผู้นิยมใช้อำนาจและความรุนแรง เมื่อความเข้าใจเรื่องประชาธิปไตยของนายสมัครมีอย่างกะพร่องกะแพร่ง ดังนั้น จึงไม่แปลกที่นายสมัครยืนยันจะไม่ยุบสภา จะไม่ลาออก โดยอ้างว่าต้องการรักษาประชาธิปไตย โดยในความรู้สึกของนายสมัครเห็นว่าการยอมแพ้ต่อการประท้วงของประชาชน (ซึ่งเป็นการแสดงออกตามหลักประชาธิปไตย) คือการเสียหลักการประชาธิปไตย ทั้งที่หลายประเทศผู้นำก็ลาออกเพราะการประท้วงของประชาชนมาแล้ว และนั่นก็คือหนทางที่คนในชาติและนานาชาติยกย่องว่าคือ "สปิริต" ประชาธิปไตย และเป็นวิถีทางที่เกือบจะเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของประเทศประชาธิปไตยที่ไม่ได้เข้าใจประชาธิปไตยแค่เปลือก วิธีรักษาประชาธิปไตยของนายสมัครแทนที่จะยุบสภาหรือลาออกคืนอำนาจให้ประชาชน จึงกลับกลายเป็นว่าประกาศบังคับใช้พระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อให้ผู้บัญชาการทหารบกสลายการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย แต่เมื่อผู้บัญชาการทหารบก (ซึ่งปกติทหารมักถูกมองว่านิยมใช้ความรุนแรง) ปฏิเสธอย่างมีชั้นเชิงและสอนมวยไปในตัวว่า จะไม่ใช้กำลังปราบผู้ชุมนุมแต่จะใช้วิธีการเจรจาแทน และย้ำว่าการเมืองต้องแก้ด้วยการเมืองคือยกให้เป็นเรื่องของรัฐสภาหรือสภาผู้แทนราษฎร ก็กลับปรากฏว่านายสมัครและคนในพรรคพลังประชาชนไม่พอใจ ที่ผู้บัญชาการทหารบกไม่ยอมใช้ความรุนแรง เมื่อถูกผู้บัญชาการทหารบกตบหน้า แต่นายสมัครก็ยังไม่รู้สึกอะไรอีก ไม่รู้สึกด้วยว่าคำสั่งของตนนั้นไม่มีใครยินดีปฏิบัติตาม ไร้ความศักดิ์สิทธิ์ สะท้อนให้เห็นว่าภาวะผู้นำของนายสมัครล้มละลาย ไม่มีผู้ใต้บังคับบัญชาให้เกียรติอีกต่อไปแล้ว หากเป็นประเทศอื่นเขาคงลาออกไปแล้ว เพราะขืนอยู่ต่อไปก็เหมือนเป็ดง่อย แต่นายสมัครกลับ "หนา" เกินคาด ด้วยการรวบอำนาจการสั่งการและการบังคับใช้กฎหมาย 20 ฉบับ ที่เกี่ยวกับความมั่นคงและการเคลื่อนกำลังพลมารวมไว้ที่ตนเองคนเดียว ลักษณะเช่นนี้ ชวนให้คิดว่า พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. ควรสลับตำแหน่งกับนายสมัคร จะดีและเหมาะสมกว่า เพราะมีอย่างที่ไหนที่ทหารกลับเป็นฝ่ายไม่ชอบใช้ความรุนแรง พูดจานิ่มนวล อดทนสูง ไม่เติมเชื้อไฟให้สังคมที่มีความขัดแย้งทางการเมืองสูงอยู่แล้ว ผิดกันอย่างลิบลับกับนายสมัครที่อยู่ในอาการดิ้นพล่าน พาลพาโลกับทุกคน พูดอะไรออกมาแต่ละครั้งล้วนหาเหตุผลให้สอดคล้องรองรับการกระทำและคำพูดของตัวเองได้ยากเหลือเกิน จนไม่อยากเชื่อว่าคนคนนี้มีตำแหน่งเป็นถึงนายกรัฐมนตรี ดูแล้วทั้งหน้าตาและคำพูดไม่เป็นเกียรติเป็นศรีแก่ประเทศเอาเสียเลย หลายคนบ่นว่ารู้สึกอายที่มีผู้นำประเทศแบบนี้ เมื่อมีปัญหาการเมืองเกิดขึ้นนายสมัครและคนพรรคพลังประชาชน (ที่อ้างว่าอยากรักษาประชาธิปไตย) กลับไม่ใช้หนทางประชาธิปไตยและกลไกรัฐสภาในการแก้ปัญหา แต่ใช้วิธีเตะลูกออกนอกสภา ไปให้ทหารแก้ไข ทั้งที่ช่วงเกิดรัฐประหาร 19 กันยายน พรรคพลังประชาชนหรือคนไทยรักไทยเดิม เรียงหน้าสลอนออกมาถล่มทหารที่ใช้อำนาจเผด็จการเข้าแทรกแซงการเมือง หาว่ามาจุ้นจ้านการเมือง แต่คราวนี้กลับอยากเห็นทหารใช้อำนาจจัดการม็อบตามคำสั่งใน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ส่วนพรรคร่วมรัฐบาลเองก็มีส่วนสำคัญทำให้การเมืองวิกฤตอย่างถึงขีดสุด เพราะไม่มีพรรคใดยอมถอนตัวหรือเลิกเป็นเสาค้ำยันให้นายสมัคร ทั้งที่พรรคร่วมรัฐบาลมองเห็นแล้วว่าสถานการณ์บ้านเมืองอยู่ในสภาพใด ซึ่งเหตุที่พรรคร่วมรัฐบาลไม่ยอมถอนก็คงเป็นไปตามที่มีการคาดหมายกันนั่นเองคือพวกนี้กำลัง "ไกล่เกลี่ย" ผลประโยชน์เรื่องงบประมาณกัน นี่คือวงจรอุบาทว์ของการเมืองไทยอย่างแท้จริง วงจรอุบาทว์ที่เกิดจาก "สันดาน" อันไม่เคยเปลี่ยนไปในทางที่เจริญขึ้นของนักการเมืองส่วนใหญ่
โพสต์โดย: นางสาวภัทราสิยากร ณ นคร ID: 5131601005
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น