คำว่า “วิกฤตที่สุดในโลก” ที่แถลงการณ์ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยมักจะนำมาใช้บ่อยๆ นั้นมาจากนัยแห่งพระราชดำรัสในองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว วันที่ 25 เมษายน 2549 ที่พระราชทานแด่คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และตุลาการศาลปกครอง ในวันนั้นพระองค์ทรงขอให้ศาลช่วยแก้ไข
เราคงจะเห็นแล้วว่าศาลได้พยายามทำหน้าที่มาโดยลำดับ
ทำดีที่สุดเท่าที่จะทำได้
แต่ “วิกฤตที่สุดในโลก” นี้ยังคงไม่หมดไป โดยเฉพาะต่อให้ผ่านวันพุธที่ 17 กันยายน 2551
เพราะ “การเมืองเก่า” ยังคงอยู่ !
พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยไม่ใช่คนกลุ่มแรกที่บอกว่าการเมืองปัจจุบันมีปัญหาที่รากฐาน ต้องปรับแก้กันใหม่ ไม่ใช่แค่ยุบสภา รัฐบาลลาออก หรือปรับคณะรัฐมนตรี
ท่านอาจารย์หมอประเวศ วะสีพูดแล้วพูดอีกหลายครั้งหลายหน โดยเฉพาะล่าสุดเมื่อต้นปี 2550
“ระบบการเมืองของเราเป็นเส้นทางสายเดี่ยว คือ การเลือกตั้ง แล้วก็กินรวบหมด...
“เมื่อเส้นทางนั้นอุดตัน คือมีการใช้เงินกันมาก ก็อักเสบกันไปทั้งระบบ ในเมื่อการเลือกตั้งก็ต้องมี ไม่มีไม่ได้ และก็ยังไม่สามารถขจัดอิทธิพลของเงินออกไปได้ การเมืองเรื่องเลือกตั้งจึงเป็นการเมืองที่ไม่บริสุทธิ์ และขาดคุณภาพ ถ้าประชาธิปไตยจะมีแต่การเลือกตั้งอย่างเดียว เราก็จะวนเวียนอยู่ในวงจรอุบาทว์...”
นี่คือข้อเสนอให้คนไทยหาทางสร้างระบอบประชาธิปไตยลักษณะใหม่ที่ไม่ผูกติดตัวเองอยู่กับการเลือกตั้งสถานเดียว
ในบทความเรื่องนี้ที่เขียนขึ้นหลังรัฐประหารครั้งล่าสุดไม่นานนัก มุ่งหวังจะให้คนไทยก้าวให้พ้น “กับดักทางความคิด” เดิมๆ ที่ติดยึดแต่เพียงว่าประชาธิปไตยคือการเลือกตั้ง แล้วหันมาใช้กลไกประชาธิปไตยอย่างมีส่วนร่วมให้มากขึ้น โดยเสนอนวัตกรรมทางโครงสร้างหลายประการที่ถ้านำมาพูดวันนี้โดยคนที่มีลักษณะเป็นผู้นำมวลชนแล้วอาจจะสร้างความตกอกตกใจให้กับคนที่ไม่กล้าคิดใหม่มากกว่าสิ่งที่เรียกว่า “ระบบ 70 : 30” เสียด้วยซ้ำ เป็นต้นว่า...
- คณะกรรมการอิสระเพื่อการสรรหาแห่งชาติ
- คณะกรรมการอิสระเพื่อการประเมินแห่งชาติ
- ประชาธิปไตยชุมชน (Community Democracy)
- ประชาธิปไตยท้องถิ่น (Local Democracy)
- การเมืองภาคประชาชน (Popular Democracy)
น่าเสียดายที่ คมช. และรัฐบาลที่มาจาก คมช. ด้อยสติปัญญาเกินกว่าที่จะนำข้อเสนอทำนองนี้มาวิเคราะห์และกลั่นกรอง คิดได้ตื้นๆ เพียงแค่รักษาระบอบเก่าไว้ เตะคนเก่าออกไป หาคนใหม่ที่ตนครอบงำได้เข้าไปแทน
ท่านอาจารย์หมอประเวศ วะสีไม่ใช่คนแรกที่เห็นความล้มเหลวของระบอบประชาธิปไตยโดยตัวแทนในบ้านเรา
นสพ.ผู้จัดการรายวันใช้คำว่า “นักเลือกตั้ง” และ “ลัทธิเลือกตั้งธิปไตย” เสียดสีและสะท้อนภาพความเน่าเฟะของระบอบฯ มาตั้งแต่ครึ่งหลังของปี 2535 จากนั้น 2 คำนี้ก็ได้รับการใช้โดยนักวิชาการและปัญญาชนทั่วไป
กระบวนการปฏิรูปการเมืองระหว่างปี 2537 – 2539 ที่มาของรัฐธรรมนูญ 2540 ก็มีที่มาส่วนสำคัญจากแนวคิดนี้
นวัตกรรมทางการเมืองใหม่ๆ เกิดขึ้นเพื่อลดทอนอำนาจของ “นักเลือกตั้ง” ทั้งสิ้น!
แต่ไม่สำเร็จ!!
ในช่วงการร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ท่านอาจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ แกนนำสำคัญในทางปฏิบัติของการร่างรัฐธรรมนูญ 2540 ที่ไม่ได้มีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ได้เสนอบทความเรื่องหนึ่งชื่อ “พลวัตของการเมืองไทย” มีภาคแปลเป็นภาษาอังกฤษด้วยชื่อ “Dynamics of Thai Politics” ในบทความชิ้นนี้มองพ้นกรอบของกฎหมาย และกรอบของรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยแบบตะวันตกไป โดยเสนอว่าจะบัญญัติโครงสร้างทางการเมืองอย่างไร ต้องคำนึงถึงปัจจัยสำคัญที่สุดก่อน
คือให้ “องค์ประกอบ 4 ส่วน” ของสังคมไทยอยู่ร่วมกันได้ ไม่ตัดขาดส่วนใดส่วนหนึ่งออกไป
“อัจตวานุภาพ”
องค์ประกอบ 4 ส่วนที่จะตัดขาดออกไปไม่ได้นี้คือ....
- สถาบันพระมหากษัตริย์
- ข้าราชการทหารและพลเรือน
- ชนชั้นกลางในกรุงเทพฯ และเมืองใหญ่ – ซึ่งสามารถต่อรองได้ในระบบเศรษฐกิจแบบตลาด
- ประชาชนส่วนใหญ่ในชนบท – ซึ่งเข้าถึงทรัพยากรได้ยาก และไม่มีอำนาจต่อรองในระบบเศรษฐกิจ
จากพื้นฐานความเป็นจริงเช่นนี้ ท่านเสนอให้วุฒิสภามีที่มาแตกต่างจากสภาผู้แทนราษฎร เพื่อไม่ให้เกิดการซ้ำซ้อนกัน และเปิดโอกาสให้ข้าราชการทหารและพลเรือนเข้ามาเป็นสมาชิกวุฒิสภาได้
ท่านบอกว่านี่ไม่ใช่ความคิดใหม่อะไร อังกฤษประเทศแม่บทประชาธิปไตยระบบรัฐสภาที่เราชอบอ้างจากบทเรียนท่องจำนั้น
คนที่ศึกษาหนังสือ De l’Esprit des Lois ของมงเตสกิเออ ต่างก็รู้ว่า ที่มงเตสกิเออชื่นชมการปกครองอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ก็เพราะสังคมอังกฤษมีรัฐธรรมนูญที่ผนวกตรียานุภาพของอังกฤษไว้ คือ สถาบันพระมหากษัตริย์ พระ และขุนนาง - ในสภาขุนนาง และสามัญชน – ในสภาสามัญ
ถ้าไม่อคติกันจนเกินไป จะพบว่าแม้จะต่างกันในรายละเอียด แต่แนวคิดใหญ่ๆ ไม่ต่างจากที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย “ทดลองเสนอ” หรอก
แม้จะไม่ได้พบปะสนทนากัน แม้จะคิดต่างในหลายประเด็น แต่ผมเชื่อว่าในประเด็น “การเมืองใหม่” นี้ แกนนำพันธมิตรฯ เห็นด้วยกับ “ประชาธิปไตยพหุอำนาจ” ของท่านอาจารย์หมอประเวศ วะสี และเห็นด้วยกับท่านอาจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณในการสร้างดุลยภาพให้แก่ “อัจตวานุภาพ” ของสังคมไทย...
ใครจะเป็นเป็น “เจ้าภาพ” ให้เกิดการพิจารณาประเด็น “การเมืองใหม่” นี้ได้บ้าง
จำเป็นต้องมีครับ
อย่าคิดแค่ให้ผ่านวันพุธที่ 17 กันยายน 2551 ไป
ผมมองไม่เห็นใคร
แต่อยากเสนอพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดาช่วยพิจารณาหน่อย !
credit : www.manager.co.th
update by Kotchakorn Sunthikhunakorn 5131601001
เราคงจะเห็นแล้วว่าศาลได้พยายามทำหน้าที่มาโดยลำดับ
ทำดีที่สุดเท่าที่จะทำได้
แต่ “วิกฤตที่สุดในโลก” นี้ยังคงไม่หมดไป โดยเฉพาะต่อให้ผ่านวันพุธที่ 17 กันยายน 2551
เพราะ “การเมืองเก่า” ยังคงอยู่ !
พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยไม่ใช่คนกลุ่มแรกที่บอกว่าการเมืองปัจจุบันมีปัญหาที่รากฐาน ต้องปรับแก้กันใหม่ ไม่ใช่แค่ยุบสภา รัฐบาลลาออก หรือปรับคณะรัฐมนตรี
ท่านอาจารย์หมอประเวศ วะสีพูดแล้วพูดอีกหลายครั้งหลายหน โดยเฉพาะล่าสุดเมื่อต้นปี 2550
“ระบบการเมืองของเราเป็นเส้นทางสายเดี่ยว คือ การเลือกตั้ง แล้วก็กินรวบหมด...
“เมื่อเส้นทางนั้นอุดตัน คือมีการใช้เงินกันมาก ก็อักเสบกันไปทั้งระบบ ในเมื่อการเลือกตั้งก็ต้องมี ไม่มีไม่ได้ และก็ยังไม่สามารถขจัดอิทธิพลของเงินออกไปได้ การเมืองเรื่องเลือกตั้งจึงเป็นการเมืองที่ไม่บริสุทธิ์ และขาดคุณภาพ ถ้าประชาธิปไตยจะมีแต่การเลือกตั้งอย่างเดียว เราก็จะวนเวียนอยู่ในวงจรอุบาทว์...”
นี่คือข้อเสนอให้คนไทยหาทางสร้างระบอบประชาธิปไตยลักษณะใหม่ที่ไม่ผูกติดตัวเองอยู่กับการเลือกตั้งสถานเดียว
ในบทความเรื่องนี้ที่เขียนขึ้นหลังรัฐประหารครั้งล่าสุดไม่นานนัก มุ่งหวังจะให้คนไทยก้าวให้พ้น “กับดักทางความคิด” เดิมๆ ที่ติดยึดแต่เพียงว่าประชาธิปไตยคือการเลือกตั้ง แล้วหันมาใช้กลไกประชาธิปไตยอย่างมีส่วนร่วมให้มากขึ้น โดยเสนอนวัตกรรมทางโครงสร้างหลายประการที่ถ้านำมาพูดวันนี้โดยคนที่มีลักษณะเป็นผู้นำมวลชนแล้วอาจจะสร้างความตกอกตกใจให้กับคนที่ไม่กล้าคิดใหม่มากกว่าสิ่งที่เรียกว่า “ระบบ 70 : 30” เสียด้วยซ้ำ เป็นต้นว่า...
- คณะกรรมการอิสระเพื่อการสรรหาแห่งชาติ
- คณะกรรมการอิสระเพื่อการประเมินแห่งชาติ
- ประชาธิปไตยชุมชน (Community Democracy)
- ประชาธิปไตยท้องถิ่น (Local Democracy)
- การเมืองภาคประชาชน (Popular Democracy)
น่าเสียดายที่ คมช. และรัฐบาลที่มาจาก คมช. ด้อยสติปัญญาเกินกว่าที่จะนำข้อเสนอทำนองนี้มาวิเคราะห์และกลั่นกรอง คิดได้ตื้นๆ เพียงแค่รักษาระบอบเก่าไว้ เตะคนเก่าออกไป หาคนใหม่ที่ตนครอบงำได้เข้าไปแทน
ท่านอาจารย์หมอประเวศ วะสีไม่ใช่คนแรกที่เห็นความล้มเหลวของระบอบประชาธิปไตยโดยตัวแทนในบ้านเรา
นสพ.ผู้จัดการรายวันใช้คำว่า “นักเลือกตั้ง” และ “ลัทธิเลือกตั้งธิปไตย” เสียดสีและสะท้อนภาพความเน่าเฟะของระบอบฯ มาตั้งแต่ครึ่งหลังของปี 2535 จากนั้น 2 คำนี้ก็ได้รับการใช้โดยนักวิชาการและปัญญาชนทั่วไป
กระบวนการปฏิรูปการเมืองระหว่างปี 2537 – 2539 ที่มาของรัฐธรรมนูญ 2540 ก็มีที่มาส่วนสำคัญจากแนวคิดนี้
นวัตกรรมทางการเมืองใหม่ๆ เกิดขึ้นเพื่อลดทอนอำนาจของ “นักเลือกตั้ง” ทั้งสิ้น!
แต่ไม่สำเร็จ!!
ในช่วงการร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ท่านอาจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ แกนนำสำคัญในทางปฏิบัติของการร่างรัฐธรรมนูญ 2540 ที่ไม่ได้มีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ได้เสนอบทความเรื่องหนึ่งชื่อ “พลวัตของการเมืองไทย” มีภาคแปลเป็นภาษาอังกฤษด้วยชื่อ “Dynamics of Thai Politics” ในบทความชิ้นนี้มองพ้นกรอบของกฎหมาย และกรอบของรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยแบบตะวันตกไป โดยเสนอว่าจะบัญญัติโครงสร้างทางการเมืองอย่างไร ต้องคำนึงถึงปัจจัยสำคัญที่สุดก่อน
คือให้ “องค์ประกอบ 4 ส่วน” ของสังคมไทยอยู่ร่วมกันได้ ไม่ตัดขาดส่วนใดส่วนหนึ่งออกไป
“อัจตวานุภาพ”
องค์ประกอบ 4 ส่วนที่จะตัดขาดออกไปไม่ได้นี้คือ....
- สถาบันพระมหากษัตริย์
- ข้าราชการทหารและพลเรือน
- ชนชั้นกลางในกรุงเทพฯ และเมืองใหญ่ – ซึ่งสามารถต่อรองได้ในระบบเศรษฐกิจแบบตลาด
- ประชาชนส่วนใหญ่ในชนบท – ซึ่งเข้าถึงทรัพยากรได้ยาก และไม่มีอำนาจต่อรองในระบบเศรษฐกิจ
จากพื้นฐานความเป็นจริงเช่นนี้ ท่านเสนอให้วุฒิสภามีที่มาแตกต่างจากสภาผู้แทนราษฎร เพื่อไม่ให้เกิดการซ้ำซ้อนกัน และเปิดโอกาสให้ข้าราชการทหารและพลเรือนเข้ามาเป็นสมาชิกวุฒิสภาได้
ท่านบอกว่านี่ไม่ใช่ความคิดใหม่อะไร อังกฤษประเทศแม่บทประชาธิปไตยระบบรัฐสภาที่เราชอบอ้างจากบทเรียนท่องจำนั้น
คนที่ศึกษาหนังสือ De l’Esprit des Lois ของมงเตสกิเออ ต่างก็รู้ว่า ที่มงเตสกิเออชื่นชมการปกครองอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ก็เพราะสังคมอังกฤษมีรัฐธรรมนูญที่ผนวกตรียานุภาพของอังกฤษไว้ คือ สถาบันพระมหากษัตริย์ พระ และขุนนาง - ในสภาขุนนาง และสามัญชน – ในสภาสามัญ
ถ้าไม่อคติกันจนเกินไป จะพบว่าแม้จะต่างกันในรายละเอียด แต่แนวคิดใหญ่ๆ ไม่ต่างจากที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย “ทดลองเสนอ” หรอก
แม้จะไม่ได้พบปะสนทนากัน แม้จะคิดต่างในหลายประเด็น แต่ผมเชื่อว่าในประเด็น “การเมืองใหม่” นี้ แกนนำพันธมิตรฯ เห็นด้วยกับ “ประชาธิปไตยพหุอำนาจ” ของท่านอาจารย์หมอประเวศ วะสี และเห็นด้วยกับท่านอาจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณในการสร้างดุลยภาพให้แก่ “อัจตวานุภาพ” ของสังคมไทย...
ใครจะเป็นเป็น “เจ้าภาพ” ให้เกิดการพิจารณาประเด็น “การเมืองใหม่” นี้ได้บ้าง
จำเป็นต้องมีครับ
อย่าคิดแค่ให้ผ่านวันพุธที่ 17 กันยายน 2551 ไป
ผมมองไม่เห็นใคร
แต่อยากเสนอพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดาช่วยพิจารณาหน่อย !
credit : www.manager.co.th
update by Kotchakorn Sunthikhunakorn 5131601001
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น