หลังม็อบพันธมิตรฯ บุกยึดปักหลักชุมนุมประท้วงในทำเนียบรัฐบาล สื่อต่างประเทศ โดยเฉพาะสำนักข่าวเอพีระบุว่าพื้นที่ดังกล่าวประดุจค่ายอพยพ ภาพในทำเนียบรัฐบาล เละเทะ เต็มไปด้วยสิ่งปฏิกูล น้ำเน่าเสีย และเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรค อย่างไรก็ตาม มีความพยายามจากรัฐสภา ประกอบด้วย ผู้นำฝ่ายค้าน ประธานสภาผู้แทนราษฎร และประธานวุฒิสภา จะหาทางเจรจา หลังจากมีการปะทะจนมีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต แต่พันธมิตรฯก็ย้ำจุดยืนกระต่ายขาเดียวว่านายกฯต้องลาออกก่อนเท่านั้น ถึงจะยอมคุยด้วย สำหรับนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ก็หัวชนฝาเช่นเดียวกันว่า จะไม่ลาออก ไม่ยุบสภา และจะเดินหน้าทำประชามติ
นอกจากนี้ ยังวิพากษ์วิจารณ์การเมืองใหม่ 30:70 ข้อเสนอของแกนนำพันธมิตรฯว่าสวนทางกับระบอบประชาธิปไตยอย่างสิ้นเชิง ถ้ายอมกันตรงนี้ จะทำให้เกิดปัญหาต่อระบบรัฐสภาและการบริหารงานราชการ
อย่างไรก็ตาม สื่อต่างประเทศได้วิพากษ์วิจารณ์รูปแบบการเมืองที่พันธมิตรฯเสนออย่างน่าสนใจ นิตยสารไทม์ ระบุว่าความหมายของชื่อกลุ่มสื่อถึงการสนับสนุนประชาธิปไตย แต่แกนนำกลุ่มและสมาชิกจำนวนมาก กลับแสดงท่าทีกังขาต่อการเมืองที่ผ่านระบบเลือกตั้ง บางคนเสนอให้มีนักการเมืองแต่งตั้งเข้าไปทำหน้าที่แทน โดยอ้างว่ามีการซื้อเสียงอย่างกว้างขวางในต่างจังหวัด ถ้ามีการเลือกตั้งเกิดขึ้น พรรคพลังประชาชนก็อาจจะชนะเลือกตั้งอีก ความจริงข้อนี้ ทำให้กลุ่มชนชั้นนำในสังคมไทยที่เป็นนายทุนให้พันธมิตรฯรับไม่ได้
นอกจากนี้ ดิ อีโคโนมิสต์ ได้ชี้ว่ารัฐบาลนายสมัครมีจุดอ่อนอย่างรุนแรง ตัวนายสมัครเองก็มีประวัติด่างพร้อยกรณี 6 ตุลา แต่ก็เป็นก้าวย่างที่ผิดพลาดและอันตรายอย่างมาก ถ้ากลุ่มพันธมิตรฯที่ยึดทำเนียบรัฐบาลอยู่ในขณะนี้ จะบีบให้รัฐบาลสละอำนาจ ดิ อีโคโนมิสต์ วิเคราะห์ด้วยว่าในหมู่ผู้ชุมนุมพันธมิตรฯมีกลุ่มเสรีนิยมที่ไม่พอใจการใช้อำนาจในทางมิชอบของรัฐบาลทักษิณและรัฐบาลสมัคร ส่วนแกนนำกลับมิใช่ทั้งพวกเสรีนิยมหรือนักประชาธิปไตย แต่ประกอบด้วย นักธุรกิจหัวอนุรักษนิยม นายพล ชนชั้นสูง สิ่งที่พวกเขาต้องการไม่ใช่การเลือกตั้ง ซึ่งแน่นอนไม่มีทางชนะ แต่กำลังเสนอความคิด"การเมืองใหม่"ซึ่งข้อเท็จจริงแล้ว เป็นการย้อนกลับไปสู่ระบบการปกครองแบบอำนาจนิยม โดยการแต่งตั้งบุคคลเข้ามาทำหน้าที่ในสภาและมอบอำนาจให้ทหารเข้าแทรกแซงการเมืองได้ตามความต้องการ ซึ่งดิ อีโคโนมิสต์ ตั้งชื่อบทความนี้ว่า "เลวร้ายกว่ารัฐประหาร"
นอกจากนี้ ยังวิพากษ์วิจารณ์การเมืองใหม่ 30:70 ข้อเสนอของแกนนำพันธมิตรฯว่าสวนทางกับระบอบประชาธิปไตยอย่างสิ้นเชิง ถ้ายอมกันตรงนี้ จะทำให้เกิดปัญหาต่อระบบรัฐสภาและการบริหารงานราชการ
อย่างไรก็ตาม สื่อต่างประเทศได้วิพากษ์วิจารณ์รูปแบบการเมืองที่พันธมิตรฯเสนออย่างน่าสนใจ นิตยสารไทม์ ระบุว่าความหมายของชื่อกลุ่มสื่อถึงการสนับสนุนประชาธิปไตย แต่แกนนำกลุ่มและสมาชิกจำนวนมาก กลับแสดงท่าทีกังขาต่อการเมืองที่ผ่านระบบเลือกตั้ง บางคนเสนอให้มีนักการเมืองแต่งตั้งเข้าไปทำหน้าที่แทน โดยอ้างว่ามีการซื้อเสียงอย่างกว้างขวางในต่างจังหวัด ถ้ามีการเลือกตั้งเกิดขึ้น พรรคพลังประชาชนก็อาจจะชนะเลือกตั้งอีก ความจริงข้อนี้ ทำให้กลุ่มชนชั้นนำในสังคมไทยที่เป็นนายทุนให้พันธมิตรฯรับไม่ได้
นอกจากนี้ ดิ อีโคโนมิสต์ ได้ชี้ว่ารัฐบาลนายสมัครมีจุดอ่อนอย่างรุนแรง ตัวนายสมัครเองก็มีประวัติด่างพร้อยกรณี 6 ตุลา แต่ก็เป็นก้าวย่างที่ผิดพลาดและอันตรายอย่างมาก ถ้ากลุ่มพันธมิตรฯที่ยึดทำเนียบรัฐบาลอยู่ในขณะนี้ จะบีบให้รัฐบาลสละอำนาจ ดิ อีโคโนมิสต์ วิเคราะห์ด้วยว่าในหมู่ผู้ชุมนุมพันธมิตรฯมีกลุ่มเสรีนิยมที่ไม่พอใจการใช้อำนาจในทางมิชอบของรัฐบาลทักษิณและรัฐบาลสมัคร ส่วนแกนนำกลับมิใช่ทั้งพวกเสรีนิยมหรือนักประชาธิปไตย แต่ประกอบด้วย นักธุรกิจหัวอนุรักษนิยม นายพล ชนชั้นสูง สิ่งที่พวกเขาต้องการไม่ใช่การเลือกตั้ง ซึ่งแน่นอนไม่มีทางชนะ แต่กำลังเสนอความคิด"การเมืองใหม่"ซึ่งข้อเท็จจริงแล้ว เป็นการย้อนกลับไปสู่ระบบการปกครองแบบอำนาจนิยม โดยการแต่งตั้งบุคคลเข้ามาทำหน้าที่ในสภาและมอบอำนาจให้ทหารเข้าแทรกแซงการเมืองได้ตามความต้องการ ซึ่งดิ อีโคโนมิสต์ ตั้งชื่อบทความนี้ว่า "เลวร้ายกว่ารัฐประหาร"
โพสต์โดย: นางสาวภัทราสิยากร ณ นคร ID: 5131601005
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น